Page 47 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 47

47


               3.2 คนไร้ความสามารถ

                 1. บุคคลวิกลจริตนั้นนอกจากหมายถึงบุคคลที่มีจิตไม่ปกติ หรือสมองพิการไม่มีความรู้สึกผิดชอบอย่างที่

               เรียกกันว่า คนบ้า แล้วยังหมายรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติธรรมดาเพราะสติวิปลาส เนื่องจาก

               เจ็บป่วยถึงขนาดไม่มีความรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ ได้ด้วย
                2. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้บุคคลเป็นคนไร้ความสามารถได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการีคือบิดามารดา

               ปู่ย่า ตายาย ทวด ผู้สืบสันดาน คือ ลูกหลาน เหลน ลื้อ ผู้ปกครอง หรือผู้พิทักษ์ หรือพนักงานอัยการ

                3. ผลของการเป็นคนไร้ความสามารถนั้น ทําให้คนวิกลจริต ตกไปอยู่ภายใต้ความดูแลของบุคคลอื่นซึ่ง

               เรียกว่า “ผู้อนุบาล” และไม่อาจทํานิติกรรมใดๆโดยตนเองได้เลย หากทําไปนิติกรรมเป็นโมฆียะหมด หาก

               จําเป็นต้องทํานิติกรรมใดๆ ผู้อนุบาลต้องเป็นผู้ทําแทน ดังนั้นจึงไม่มีเรืองการให้ความยินยอมหรือข้อยกเว้น
               การทํานิติกรรม

                4. การเป็นคนไร้ความสามารถ เริ่มตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เริ่มอาการวิกลจริต

               และสิ้นสุดลงเมื่อศาลเพิกถอนคําสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ ในเมื่อเหตุอันทําให้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลง

                5. หลักเกณฑ์การคุ้มครองคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คือคนวิกลจริตนั้นโดย
               หลัก ทํานิติกรรมมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า

                1) ทํานิติกรรมในขณะมีจริตวิกล

                2) คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้ทําวิกลจริต นิติกรรมจึงมีผลเป็นโมฆียะ

                3.3 ความเสมือนไร้ความสามารถ
                1. บุคคลซึ่งมีเหตุบกพร่อง เพราะร่างกายพิการ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีความประพฤติ

               สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทํานองเดียวกันนั้น ถึงขนาดไม่สามารถจัดทํา

               การงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อ
               มีผู้ร้องขอ ศาลอาจสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของบุคคลอื่น

                ซึ่งเรียกว่า “ผู้พิทักษ์”

                2. คนเสมือนไร้ความสามารถย่อมใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่อย่างบุคคลธรรมดาทั่วไป ยกเว้น การทํานิติ

               กรรมบางประเภทที่กฎหมายระบุไว้ใน ปพพ.มาตรา 34 ที่ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนการที่ทํา

               นั้นจึงมีผลสมบูรณ์ แต่ถ้าฝ่าฝืนทํานิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอม การที่ทําขึ้นนั้นจะเป็นโมฆียะ
               นอกจากนิติกรรมตามตามมาตรา 34 แล้ว ถ้ามีพฤติการณ์ อันสมควรศาลจะสั่งให้การทํานิติกรรมอย่างอื่น

               ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเหตุแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

               นั้นมีเหตุมาจากการพิการ หรือจิตไม่สมประกอบ ไม่มีสภาพที่จะจัดการงานของตนเองได้เลย ศาลจะสั่งให้

               ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอํานาจกระทําการแทนก็ได้
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52