Page 35 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 35

2.3 ฉลากที่มีคําพรรณนาและแบบให้ข้อมูล (Descriptive label) ฉลากประเภทนี้

                     มักมีคําบรรยายเกี่ยวกับลักษณะผลิตภัณฑ์ ส่วนผสม วิธีการใช้ คําเตือนต่างๆ การเก็บรักษาสินค้า ข้อ

                     ควรระวัง เป็นต้น

                                   2.4 ฉลากรหัสแท่ง (Bar Code) เป็น เลขหมายประจําตัวสินค้า ซึ่งเป็นหมายเลข

                     เฉพาะ สําหรับสินค้าแต่ละสินค้าโดยไม่ซ้ํากัน ปัจจุบันมีระบบ หลักที่ใช้กันอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ
                     European Article Numbering (EAN) ของยุโรป และระบบ Universal Product Code (UPC) ของ

                     สหรัฐอเมริกา สําหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมได้กําหนดให้ใช้รหัสแท่งตาม

                     ระบบมาตรฐานของระบบ EAN โดยมีสถาบันสัญลักษณ์ รหัสแท่งไทยเป็นผู้กําหนดหมายเลข


                                   2.5 ฉลากแสดงราคาสินค้า ในปัจจุบันสินค้าบางประเภท กระทรวงพาณิชย์ได้มี
                     ประกาศควบคุมราคาสินค้า เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์จึงประกาศให้สินค้า

                     เช่น น้ําตาล น้ํามันพืช เป็นต้น ควรมีป้ายแสดงราคาสินค้า จะขึ้นลงราคาได้ก็ต่อเมื่อกระทรวง พาณิชย์

                     อนุญาตได้เท่านั้น

                                   2.6 ฉลากเครื่องหมายมาตรฐานสินค้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายประกันคุณภาพสินค้า ซึ่ง

                     กําหนดขึ้นโดย “สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นสํานักงานมาตรฐาน
                     แห่งชาติของประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เครื่องหมายมาตรฐานนี้ จะมี

                     อยู่ 2 ประเภท คือ เครื่องหมายมาตรฐาน และเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ

                                   2.7 ฉลากอื่นๆ เช่น ฉลากเครื่องหมาย อย. ซึ่งจะต้องติดอยู่กับบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุ

                     สินค้ากลุ่มอาหารและกลุ่มยา ฉลากเครื่องหมายเตือนการเคลื่อนย้าย เตือนอันตรายจากสินค้าที่ถูก

                     บรรจุอยู่ภายใน เป็นต้น

                     แนวทางการบรรจุภัณฑ์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง

                            1. แนวคิดการบรรจุภัณฑ์จากผู้บริโภค ผู้บริโภคมีความต้องการบรรจุเป็นหน่วยเล็ก ที่สุด แต่

                     มีจํานวนมากหน่วย ภาชนะบรรจุจะต้องมีการออกแบบให้มีรูปร่างสวยงาม สีสันสะดุดตา คุณภาพดี

                     และสะดวกในการใช้ประโยชน์

                            2. แนวคิดการบรรจุภัณฑ์จากผู้ขายหรือผู้ผลิต ซึ่งมีความต้องการบรรจุเป็นหน่วย ใหญ่ๆ มี

                     น้ําหนักมาก ประหยัด ภาชนะไม่จําเป็นต้องมีการออกแบบหรือตบแต่งให้สะดุดตาชวน ซื้อก็ได้ แต่ขอให้
                     สะดวกในการขนย้ายทีละจํานวนมากๆ เพื่อลดต้นทุน


                            3. แนวคิดการบรรจุภัณฑ์จากสังคม สังคมโดยรวมต้องการให้บรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ใน โลกนี้ ไม่
                     ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการทําลายง่าย สามารถนํากลับมาใช้ได้อีก (Recycle) สามารถ

                     ย่อยสลายเองได้ ไม่มีอันตรายหรือผลกระทบต่อสุขภาพ

                                                                                            การบรรจุภัณฑ์ 32
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40