Page 40 - E-Book คู่มือการปฏิบัติงานล่าม เพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
P. 40

ในประเทศไทย เพื่อให้เข้าใจแนวประเด็นของการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล

          และจำาแนกรูปแบบของการค้ามนุษย์ อันนำาไปสู่การวางแผน
          ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือและการดำาเนินงานคดีตามกฎหมายอย่างเหมาะสม
          ต่อไป

                  รูปแบบการค้ามนุษย์ทั่วโลก ซึ่งดำาเนินการสำารวจโดยสำานักงาน

          ป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)
          พบว่า รูปแบบที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์

          ทางเพศและการบังคับใช้แรงงาน โดยในรูปแบบหลังจะพบมากขึ้น
          ซึ่งครอบคลุมทั้งการบังคับใช้แรงงานในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม
          และภาคบริการ และมีตั้งแต่แรงงานรับใช้ในบ้าน แรงงานในภาคการเกษตร

          ตามฤดูกาล อุตสาหกรรมการประมงและเรือประมง โรงงานขนาดเล็ก
          งานก่อสร้าง หรือการผลิตด้านอื่นๆ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการค้ามนุษย์

          ในรูปแบบอื่น เช่น การบังคับให้ขอทาน การบังคับให้กระทำาสิ่งที่ผิดกฎหมาย
          การบังคับให้แต่งงานแบบหลอกลวง การให้เป็นทหารเด็ก การขายเด็ก
          ให้เป็นบุตรบุญธรรม/การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยผิดกฎหมาย การใช้คน

          ในพิธีกรรมบูชายัญ การผลิตสื่อลามกอนาจาร การตัดอวัยวะ รูปแบบ
          การแสวงหาผลประโยชน์แบบผสมผสาน และการค้าหญิงตั้งครรภ์

          เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะขายเด็กทารก (UNODC, 2016, p. 28 – 33)

                  รูปแบบของการค้ามนุษย์ที่พบในประเทศไทย สถาบันเพื่อ
          การยุติธรรมแห่งประเทศไทย (2560, หน้า 3 - 8) ได้ร่วมมือกับ UNODC
          ศึกษาในรายงาน “การค้ามนุษย์จากประเทศกัมพูชา สปป.ลาวและ

          สหภาพเมียนมา มายังประเทศไทย พบว่า แม้ว่าจะมีข้อจำากัดทางด้าน
          ข้อมูลสถิติที่น่าเชื่อถือได้ ด้วยเป็นลักษณะของปัญหาอาชญากรรม

          ที่มีการปกปิดซ่อนเร้น แต่ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า





    38     คู่มือการปฏิบัติงานล่ามเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45