Page 41 - E-Book คู่มือการปฏิบัติงานล่าม เพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
P. 41
รูปแบบก�รค้�มนุษย์เพื่อก�รบังคับใช้แรงง�น ส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน มักถูกหลอกลวงหรือโดยขูดรีด
ทั้งในระยะเริ่มต้น ระหว่างการเดินทางและเมื่อได้งานทำาแล้ว โดยแรงงานชาย
ซึ่งจะเดินทางเข้ามาทำางานในประเทศไทย ตกอยู่ในสภาพการทำางาน
ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ในอุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมสิ่งทอ การก่อสร้าง
และการเกษตร ในขณะที่แรงงานหญิงมักเป็นผู้ถูกค้าเข้ามาเพื่ออยู่ใน
ภาคบริการ ทำางานบ้าน และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งพบแรงงานเด็ก
พบในการทำางานภาคการเกษตร ทำางานบ้าน ภาคการประมงและ
อุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งแรงงานเหล่านี้มักตกอยู่ในภาวะผูกมัด
จากสาเหตุต่างๆ เช่น มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมจากนายหน้า อยู่ในสภาวะ
จำายอมที่มีสภาพการทำางานที่เสี่ยงอันตราย สกปรก และไม่เหมาะสม
การยึดหนังสือเดินทาง การกักขังหน่วงเหนี่ยว การห้ามติดต่อกับบุคคล
ภายนอก การไม่จ่ายค่าจ้าง การคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
ก�รค้�มนุษย์เพื่อแสวงห�ประโยชน์ท�งเพศ ครอบคลุมทั้งการ
บังคับค้าประเวณี การถูกใช้เป็นตัวแสดงในสื่อลามกอนาจาร มักถูกหลอก
หรือถูกบังคับให้ทำางานบริการทางเพศโดยไม่สมัครใจ ส่วนใหญ่ผู้เสียหาย
มักเป็นหญิงและเด็ก รวมถึงเด็กชายที่อยู่ในเมืองท่องเที่ยวมีความเสี่ยง
ต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศด้วย สถานที่เกิดการค้าประเวณีพบว่า
มีได้ตั้งแต่ ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ โรงแรม รีสอร์ท สถานอาบอบนวด
ร้านเสริมสวย ร้านสปา การเช่าบ้านและใช้วิธีติดต่อลูกค้าโดยตรง ไปจนถึง
การใช้สื่อโซเชียลมีเดียช่วยในการประชาสัมพันธ์การขายบริการทางเพศ
นอกจากนี้ ยังพบการค้ามนุษย์ที่แอบแฝงมาในรูปแบบของการเป็นนายหน้า
จัดหาคู่ โดยให้สัญญาว่าจะแนะนำาให้รู้จักและได้แต่งงานกับคนที่ประสบ
ความสำาเร็จในชีวิต ในหน้าที่การงาน และอาจถูกชักจูงให้เดินทาง
ไปต่างประเทศ ซึ่งตนไม่มีความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น
คู่มือการปฏิบัติงานล่ามเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 39