Page 14 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 14
4
สื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และน าเสนอ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถ
เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ (กรม
วิชาการ. 2551 : 13)
หลักสูตรการศึกษาขั้นพันฐาน พุทธศักราช 2551 ได้บรรจุคณิตศาสตร์เป็นวิชา
พื้นฐานให้นักเรียนได้เรียนทุกระดับชั้น และบรรจุคณิตศาสตร์เป็นวิชาเพิ่มเติมส าหรับ
นักเรียนที่มีความสนใจทางด้านคณิตศาสตร์ ส่วนการจัดการเรียนการสอนจะต้องสนองต่อ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 หมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุดกล่าวคือ ผู้สอนต้องค านึงถึงการพัฒนาการ
ทางด้านร่างกาย และสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะ
ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ทุกระดับชั้นควรใช้รูปแบบวิธีสอนที่หลากหลาย
เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้แบบบูรณาการ (กรม
วิชาการ. 2544 ค : 21) ซึ่งมาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของ
ผู้เรียน โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการเผชิญ
สถานการณ์ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ท าได้ คิด
เป็น ท าเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542. 2542 : 9-10)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการ
จะระบุตัวชี้วัดช่วงชั้นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไว้อย่างชัดเจน
แล้วก็ตาม แต่นักเรียนส่วนมากไม่ประสบผลส าเร็จในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เท่าที่ควร มี
นักเรียนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ประสบผลส าเร็จเห็นได้จากการแข่งขันคณิตศาสตร์ในระดับ
โลก ถึงแม้จะได้อันดับ 2 ในการแข่งขันระดับโลก (หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. 2552 : 1) แต่
นักเรียนส่วนมากยังท าคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ไม่ดี ดังจะเห็นได้จากผลการประเมิน