Page 41 - ED 211
P. 41
ความพยายามจัดการศึกษาให้เป็นระบบ มีแบบแผนและแพร่หลายสู่คนทั่วไปปรากฏเป็น
รูปธรรมในปีพ.ศ.2441 จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดท า
โครงการศึกษา โครงการศึกษาพ.ศ.2441 ที่จัดท าขึ้นเป็นโครงการแรกแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคหนึ่งว่า
ด้วยการศึกษาในกรุงเทพฯ และภาคสองว่าด้วยการศึกษาในหัวเมือง โดยใช้แผนการศึกษาของ
ประเทศสหราชอาณาจักร แผนการศึกษาครอบคลุมการจัดการศึกษาทั้งหมดตั้งแต่การศึกษาชั้นมูลศึกษา
จนถึงมหาวิทยาลัย การศึกษาส าหรับผู้หญิง การฝึกหัดครู การสร้างโครงการศึกษา การตรวจโรงเรียน
หลักสูตร แบบเรียนและงบประมาณในการจัดการศึกษา ต่อมาในปีพ.ศ.2445 ได้มีการเปลี่ยนแปลง
แผนการศึกษา โดยน าแผนการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นมาใช้เป็นแนวทางด้วย ดังบันทึกของเจ้าพระยา
ธรรมศักดิ์มนตรี ข้าหลวงตรวจการศึกษาผู้หนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปดูการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ความตอนหนึ่งว่า “เวลานั้นประเทศญี่ปุ่นได้
วางแผนศึกษาชาติลงแล้ว ด้วยวิธีที่ตั้งข้าหลวงตรวจแผนการศึกษาของชาติต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริกา
แล้วก าหนดวางลงเป็นแผนการศึกษาของญี่ปุ่น คณะข้าหลวงของเราได้ประสบโอกาสดี ได้ชุบมือเปิบจาก
แผนการศึกษาชาติของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแผนรวมที่ใหม่ที่สุดในเวลานั้น” (เพิ่งอ้าง. 157-158)
การเน้นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการได้ขยายไปยังการศึกษาเพื่อการประกอบ
อาชีพในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในแผนการศึกษา พ.ศ.2456-2458
ความตอนหนึ่งว่า “รัฐบาลได้มองเห็นภัยของคตินิยมในการรับราชการ เห็นว่าถึงเวลาอันควรที่จะต้องจัด
การศึกษาให้กว้างขวางออกไป จนได้ชื่อว่าเป็นการศึกษาแห่งชาติ” (เพิ่งอ้าง. 225) แต่การจัดการศึกษา
ก็ยังถูกมองว่าล้าหลังทั้งคุณภาพและปริมาณเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ดังจะเห็นได้จากจ านวน
นักเรียนที่ก าลังศึกษาในโรงเรียนมีเพียงร้อยละ 10 จากจ านวนเด็กทั้งหมดที่มีอายุระหว่างเรียนเท่านั้น
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นกลับมีจ านวนเด็กนักเรียนร้อยละ 89.5 และประเทศอังกฤษมีนักเรียนถึงร้อยละ 98
(เพิ่งอ้าง. 275) การประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พระพุทธศักราช 2464 ท าให้คนทั่วไปซึ่ง
รวมถึงคนชนบทเข้าถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุ 7 ปี
ต้องเรียนอยู่ในโรงเรียนจนมีอายุ 14 ปี ดังบทบัญญัติในมาตรา 5 ความว่า “เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี
บริบูรณ์ต้องเรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาจนอายุได้ 14 ปีบริบูรณ์ แต่ส าหรับบางอ าเภอและต าบล
ด้วยเหตุฉะเพาะท้องที่ เขตร์อายุ 7 ปีที่ว่านี้ อาจเขยิบขึ้นเปน 8 ปี 9 ปี หรือ 10 ปี ก็ได้ตามที่
กระทรวงศึกษาธิการจะได้ชี้แจง เวลาเรียนในปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 320 เวลา (หรือ 800 ชั่วโมง)” แม้
การประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาจะเป็นการบังคับให้คนทั่วไปต้องส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนก็
ตาม แต่กลับพบว่ามีคนจ านวนมากที่ยังไม่ส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียน เพราะในปีพ.ศ.2470 ซึ่งมีเด็กที่อยู่
ในเกณฑ์บังคับทั่วประเทศหนึ่งล้านคนเศษ มีเด็กเข้าเรียนประมาณร้อยละ 52 เท่านั้น (วิทย์ วิศทเวทย์.
2555: 51) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความรู้ที่เรียนในระบบโรงเรียนไม่เป็นประโยชน์ส าหรับการผลิตเพื่อการยัง
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 35