Page 36 - ED211
P. 36
ย้อมสีผ้า ความรู้ในการปลูกบ้าน เช่น การตัดไม้ การปลูกบ้าน การดีดบ้าน ความรู้ในการประกอบ
พิธีกรรม เช่น การท าเครื่องเซ่นไหว้ การประกอบพิธี ความรู้ในการสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน เช่น
ความรู้ในการเอาแรง ความรู้ในการสร้างคุณค่าทางสุนทรียะ การร้องร าท าเพลง ความรู้ในการดูแล
รักษาป่าและธรรมชาติ
ชุมชนสร้างความรู้ด้วยวิธีที่หลากหลายทั้งการเฝ้าสังเกตธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลง
ของสรรพสิ่ง การลองผิดลองถูก การปฏิบัติ การหยิบยืม การแลกเปลี่ยน แต่ละชุมชนจึงมีการสั่งสม
และกระจายความรู้สู่ลูกหลานผ่านระบบความสัมพันธ์ทางสังคม และกระจายความรู้สู่คนในชุมชนด้วย
การบอกกล่าว ถ่ายทอด ท าเป็นตัวอย่าง ให้ท าจริง การเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีและการประกอบ
พิธีกรรมผ่านการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชน ดังนั้น ก่อนที่การศึกษาในระบบโรงเรียนจะเกิดขึ้น
กระบวนการเรียนรู้ในยุคก่อนทันสมัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
เนื่องจากในยุคนี้ชุมชนยังมีอ านาจอิสระในการศึกษาของตนเอง เพราะการศึกษาเป็นการ
เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองของครอบครัว ท าให้สถาบันหรือองค์กรทางสังคมที่ท าหน้าที่ในการจัด
กระบวนการเรียนรู้ในชุมชนมีความหลากหลาย โดยมีครอบครัวท าหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้
ลูกหลาน ส่วนวัด ผู้อาวุโส ผู้รู้ เป็นสถาบันทางสังคมที่ท าหน้าที่ในการกระจายความรู้สู่คนในชุมชน
สรุป
กระบวนทัศน์ทางการศึกษาในยุคก่อนทันสมัย หมายถึง ช่วงเวลาที่กระบวนการเรียนรู้มี
ความสัมพันธ์กับวิถีการด ารงชีวิต ท าให้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้มีความหลากหลาย การที่
กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่ในสังคม การศึกษากระบวนการ
เรียนรู้ของชุมชน จึงเป็นส่วนส าคัญในการท าความเข้าใจกระบวนทัศน์ทางการศึกษาในยุคก่อนทันสมัย
เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่วางอยู่บนฐานคิดแบบองค์รวม เพราะ
ความรู้ที่สั่งสมและสืบทอดอยู่ในชุมชนและวงศ์ตระกูลถูกสร้างและพัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติกับสรรพชีวิตทั้งหมดที่ด ารงอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติชุดนั้น ๆ
ความรู้ที่ชุมชนสร้างขึ้นจึงมีบริบทหรือไม่อาจใช้ได้โดยทั่วไป และปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือ
บริบทของชุมชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังไม่ได้เป็นความรู้ที่เป็นกลางหรือปลอด
ค่านิยม เพราะมักบอกสิ่งที่ลูกหลานควรหรือต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้สามารถด ารงชีวิตและอยู่ร่วมกับ
สรรพชีวิตได้อย่างผาสุข เมื่อการศึกษาสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ตาม
แบบตะวันตกกลายเป็นการศึกษากระแสหลัก ชุมชนจึงไม่มีอ านาจอิสระในการจัดการศึกษาอีกต่อไป
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านหลายเรื่องจึงไม่มีการสืบทอด แต่การหันมาให้ความส าคัญกับภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านดังที่ปรากฏในบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่
ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2542 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 7 (2535-2539) เป็น
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 30