Page 34 - ED211
P. 34
นอกจากน าปลาร้าไปแลกข้าวแลกเกลือแล้ว ชาวบ้านยังน าปลาที่ยังไม่ได้แปรรูปหรือที่เรียกว่าปลาสดไป
แลกข้าวแลกเกลืออีกด้วย โดยน าไปแลกกับ“หมู่เฮ็ดนา”ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลจากแม่น้ ามูนและจับ
ปลาไม่เป็น เมื่อคนหาปลาส่งข่าวกันว่าปลาขึ้นมาจากแม่น้ าโขงแล้ว ชาวบ้านเหล่านี้จะน าข้าวน าเกลือใส่
เกวียนลากมาแลกปลาสด ปลาร้า กับคนหาปลาริมแม่น้ ามูน ส่วนปลาขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าปลา
เศรษฐกิจนั้น ชาวบ้านมักขายให้แม่ค้าที่ล่องเรือตระเวนรับซื้ออยู่ในแม่น้ า หรือน ามาขายกับแม่ค้าที่มารอ
รับซื้ออยู่ริมฝั่ง ดังนั้นคนหาปลาแห่งล าน้ าสายนี้จึงมีข้าวเต็มยุ้งฉาง เพียงพอบริโภคตลอดทั้งปี และมี
ปลารวมทั้งสัตว์น้ าอื่น ๆ ที่สามารถจับมาเป็นอาหารได้ทุกมื้อ นอกจากสัตว์น้ านานาชนิดที่มีอยู่อย่างอุดม
สมบูรณ์ในแม่น้ าเป็นแหล่งอาหารประจ าวัน เป็นสิ่งที่ใช้แลกข้าวแลกเกลือไว้บริโภค เป็นแหล่งเงินสดเงิน
ออมแล้ว ชาวบ้านยังพึ่งพา“ป่าบุ่งป่าทาม”ซึ่งเป็นป่าที่อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ าในฐานะที่เป็นแหล่งอาหาร
และแหล่งรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ อีกด้วย ป่าบุ่งป่าทามหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าป่าทามนั้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ า
(Wetlands) ประเภทหนึ่งที่เกิดจากสภาพการไหลคดเคี้ยวกัดเซาะของแม่น้ ามูน ป่าทามเป็นพื้นที่ที่มี
พรรณพืชนานาชนิดขึ้นอยู่มากมาย รวมทั้งยังอุดมไปด้วยสัตว์นานาชนิด ทั้งที่อาศัยอยู่บนบกและอาศัย
อยู่ในพื้นที่ที่มีน้ าแช่ขัง ซึ่งทุกครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพได้ อาหารที่ชาวบ้านได้จากป่า
ทาม จึงมีทั้งพืชผักนานาชนิด เช่น เห็ดชนิดต่าง ๆ ทั้งเห็ดโคน เห็ดปลวก เห็ดขอน เห็ดผึ้ง หน่อไม้
ผลไม้ และผักต่าง ๆ เช่น ผักแว่น ผักหนาม ผักหวาน ผักอีฮิน และสัตว์ต่าง ๆ เช่น แลน กระแต
กระรอก กระต่าย หนู งู กิ้งก่า นก แมลง เต่า ปลา หอย กบ ปู กุ้ง เป็นต้น ด้วยระบบนิเวศของแม่น้ ามูน
ชาวบ้านจึงมีอาหารหลากหลายประเภท ทั้งสัตว์น้ า สัตว์บก สัตว์ครึ่งน้ าครึ่งบก และพืชผักที่ขึ้นตาม
ธรรมชาติอย่างอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งของทุกปี เมื่อแม่น้ ามูนลดระดับลง ชาวบ้านยัง
ได้พื้นที่ลาดชันริมตลิ่งส าหรับเป็นที่ปลูกผักนานาชนิดอีกด้วย พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
ส าหรับท าการเกษตรแม้ว่าจะเป็นการปลูกผักในฤดูแล้งก็ตาม เพราะมีความอุดมสมบูรณ์จากดินตะกอนที่
น้ าพัดพามาทับถมกัน เมื่อน้ าลดระดับลง ชาวบ้านจะเริ่มปลูกพืชผักในที่ดินที่จับจองและเก็บผลผลิต
ก่อนที่ที่ดินเหล่านี้จะถูกน้ าท่วมตามฤดูกาลอีกครั้ง ดังนั้น เมื่อน้ าลดระดับลงพื้นที่ลาดชันริมตลิ่งจึงถูก
แปรเป็นแหล่งปลูกผักตลอดริมแม่น้ ามูน พืชที่ปลูกมีหลายชนิด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว ฟักทอง มัน
เทศ มะเขือเทศ มะเขือ กระเทียม ผักกาดหอม ผักชี หัวหอม ผักบุ้ง น้ าเต้า และพริกไทย
ชาวบ้านยังพึ่งพาป่าทามที่อยู่ริมแม่น้ ามูนในฐานะที่เป็นแหล่งสมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคด้วย ชาวบ้าน
สามารถเก็บสมุนไพรจากพืชและส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่มากมายในป่าทาม เช่น ก้านเหลือง
ตะโกน้ า ทับน้ า ฝ้ายน้ า เสียวน้อย แตงแซว กระเจียวลาย กระโดน ขมิ้น ขมิ้นเครือ เข็มแดง เข็ม
ขาว มุยแดง เสลดพังพอน เพื่อน ามาใช้เป็นยารักษาโรคหลายประเภท ไม้ใช้สอยที่จ าเป็นในการ
ด ารงชีวิต เช่น ฟืนและไม้ไผ่ ก็หาได้จากป่าทาม ไม้ไผ่เป็นไม้ที่น ามาท าเครื่องใช้สอยที่จ าเป็นหลาย
อย่าง ไม่ว่าจะเป็นกับดักสัตว์ เครื่องมือจับปลาหลายชนิด เช่น ตุ้ม สุ่ม (ใช้จับปลาใต้น้ า) ลาน จั่น
ข้อง หรือท าภาชนะใส่อาหาร เช่น กระติบใส่ข้าวเหนียว ตะกร้า เป็นต้น และไม้ไผ่ที่เป็นไม้ท่อนยัง
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 28