Page 29 - ED211
P. 29

ปลาก็จะลึกตามไปด้วย  เวลาจับปลาต้องด าน้ า ดังนั้นพรานปลาที่หาปลาบริเวณแก่งจมจึงต้องมีความ

                   เชี่ยวชาญในการด าน้ าเพิ่มขึ้นด้วย  ส่วนแก่งที่จับปลาง่ายจะเป็นแก่งที่มีก้อนหินโผล่ขึ้นพ้นน้ าสูงและมีเนิน

                   เรียบ  การจับปลาบริเวณนี้จึงเพียงน าตาข่ายไปปักรอที่ปากถ้ าเท่านั้น  นอกจาก“รู้วิธีหาของแก่ง” แต่ละ
                   แก่งแล้ว   คนหาปลาที่มีความช านาญยังรู้อีกด้วยว่าปลาแต่ละชนิดพันธุ์อาศัยอยู่ในบริเวณใด  เช่น  ถ้า

                   เวินลึกมากจะมีปลาขนาดใหญ่ที่สุดอาศัยอยู่  เช่น  ปลากะมัน  ปลาบึก ปลาเลิ่มหรือปลาเทพา  และ

                   บริเวณใดมีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม รวมทั้งยังมีความรอบรู้เกี่ยวกับนิสัยของปลาด้วย  เช่น  ชอบกินอาหาร
                   อะไร  กินอาหารเวลาใด  ชอบนอนที่ไหน  มีวิธีนอนอย่างไร ตื่นเวลาใด  ความรู้เกี่ยวกับนิสัยของปลาจะ

                   ช่วยให้สามารถจับปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ส่วนฤดูกาลอพยพของปลาน้อยใหญ่  คนหาปลาต่างรู้ว่า

                   ไม่ได้ก าหนดตายตัว  จึงอาศัยการสังเกตจากธรรมชาติ  เช่น  สีของน้ า ลักษณะท้องฟ้า และพฤติกรรมของ
                   สัตว์บางชนิด  เช่น  นกเค้าอ่านคอน  นอกจากจะอาศัยธรรมชาติในการคาดเดาเวลาในการอพยพแล้ว

                   ชาวบ้านยังรู้ว่าปลาจะว่ายทวนน้ าเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสภาพของน้ า  เพราะถ้าน้ าในแม่น้ ามูนใส  ปลาจะ

                   ว่ายทวนน้ าขึ้นไปวางไข่อย่างรวดเร็ว  แต่หากน้ าในแม่น้ าขุ่น  ปลาจะว่ายทวนน้ าช้าลง  โดยทั่วไปในช่วง
                   ฤดูวางไข่นี้  ปลามักจะว่ายทวนน้ าขึ้นไปยังต้นน้ าอย่างรวดเร็วยกเว้นปลาหัวปี  นอกจากนั้นพรานปลาที่มี

                   ความช านาญยังรู้เส้นทางของปลาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“แปวปลา” อีกด้วย  เขาจะรู้ว่าเวลาปลาขึ้น

                   ปลาแต่ละชนิดจะว่ายทวนน้ าผ่านเกาะแก่งบริเวณใด  และจะไปแวะพักที่ใด  การรู้ว่าปลาชนิดพันธุ์ใด
                   และขนาดใดก าลังจะว่ายทวนน้ าจากแม่น้ าโขงเพื่อขึ้นมาวางไข่  จะช่วยในการเลือกใช้เครื่องมือจับปลาได้

                   อย่างเหมาะสม  นอกจากความรู้ดังกล่าวแล้ว  คนหาปลาที่มีความช านาญยังมีความสามารถในการท า

                   เครื่องมือส าหรับการจับปลาด้วย  พรานปลาที่มีความเชี่ยวชาญทราบว่าตนเองท าเครื่องมือได้ดีหรือไม่เมื่อ
                   น าเครื่องมือเหล่านั้นมา“ลองผิดลองถูก”  ถ้าเครื่องมือจับปลาได้ไม่ดี  ก็จะน าเครื่องมือมาปรับปรุงใหม่

                   นอกจากจะรู้วิธีการท าเครื่องมือแล้ว  พรานปลายังรู้วิธีใช้เครื่องมือเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย  เช่น
                   มองไหล(ข่ายไหล) ใช้บริเวณที่น้ าลึกและน้ าไหล  ไม่มีไม้และแก่งหิน  ส่วนมองซ า (ข่ายดัก)  ใช้ช่วงน้ าขึ้น

                   บริเวณที่น้ านิ่ง  ดักบริเวณที่คาดว่าปลาจะผ่าน  มองทั้งสองประเภทนี้ใช้ดักปลาที่โผล่ขึ้นมาหายใจเหนือ

                   น้ า  เช่น  ปลาช่อน  ปลาขาว  ปลากระสูบ  ช้อนตักปลาใช้ตักปลาช่วงหน้าปลาขึ้นในเดือนแรก ๆ ช่วงน้ า

                   หลากใหม่  เพราะปลามารวมกันบริเวณโขดหิน  และเบ็ดราวใช้ช่วงน้ าหลาก เป็นต้น
                               นอกจากความรู้ดังกล่าวแล้ว  คติดั้งเดิมที่ว่าต้องหาปลาเท่าที่จ าเป็นส าหรับด ารงชีวิตเท่านั้น

                   ยังหลอมรวมอยู่ในความรู้ที่ถ่ายทอดสู่ลูกหลานด้วย  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้ในการหาปลาของชาวบ้าน
                   ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นบนฐานของการจัดความสัมพันธ์กับธรรมชาติในเชิงพึ่งพาและผูกพัน  การ“อนุรักษ์

                   ไปในโต” ท าให้ปลาในล าน้ ายังคงมีปลาอยู่อย่างหลากหลายชนิดพันธุ์และอยู่รอดเลี้ยงเผ่าพันธุ์ของ

                   ชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่อง  ดังค ากล่าวที่ว่า“บ่หมดจักเทื่อ  ชนิดนั้นบ่เห็น  ชนิดนี้บ่เห็น  บ่เคยมี  ได้คู้ปี
                   ปลาที่เฮาเคยจับได้”  การอนุรักษ์และการหาปลาเป็นสิ่งที่กระท าควบคู่กันไปเสมอจากความรู้เกี่ยวกับ

                   ระบบนิเวศของแม่น้ า  การใช้เครื่องมือในการจับปลา  และความหลากหลายของการบริโภคอาหาร






                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 23
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34