Page 27 - ED211
P. 27

เอกสารประกอบการสอนเรื่อง

                                         กระบวนทัศน์ทางการศึกษาในยุคก่อนทันสมัย



                               การศึกษาในยุคก่อนทันสมัยหมายถึงช่วงเวลาหรือยุคทางประวัติศาสตร์ที่กระบวนการ

                   เรียนรู้ของคนในสังคมสัมพันธ์กับวิถีการด ารงชีวิต  ซึ่งท าให้ทัศนะในการมองความรู้และกระบวนการ
                   เรียนรู้แตกต่างในเชิงคุณภาพจากการศึกษาในยุคทันสมัย  ที่มองความรู้และกระบวนการเรียนรู้บนฐานคิด

                   แบบวิทยาศาสตร์  เนื่องจากวิถีการด ารงชีวิตในยุคนี้มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามชาติก าเนิด

                   เพศสภาพ  และระบบนิเวศของชุมชน  ความรู้และกระบวนการเรียนรู้จึงมีความหลากหลาย อาทิ
                   เจ้านาย/เชื้อพระวงศ์ เรียนรู้เรื่องการปกครองบ้านเมือง  การสงคราม  นิติศาสตร์  อักษรศาสตร์  ราช

                   ประเพณีจากผู้รู้แบบตัวต่อตัวในวัง  ส่วนวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ส าหรับเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้ชาย และผู้ชายที่

                   สนใจความรู้ด้านการอ่านเขียนและด้านพระปริยัติธรรม  ผู้มีความรู้เฉพาะด้าน เช่น มีความรู้ในการชกมวย
                   กระบี่กระบอง ฯลฯ  จัดตั้งเป็นส านักเพื่อเปิดสอนส าหรับผู้ชายที่สนใจ  ส่วนธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

                   ของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ส าหรับคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน  ก่อนที่การศึกษาในระบบโรงเรียนจะกลายเป็น

                   การศึกษากระแสหลัก  ซึ่งท าให้ชุมชนสูญเสียอ านาจในการจัดการศึกษา   กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
                   เป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่ในสังคม  ดังนั้นการศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน จึงเป็น

                   ส่วนส าคัญในการท าความเข้าใจกระบวนทัศน์ทางการศึกษาในยุคก่อนทันสมัย


                   ฐานคิดแบบองค์รวม

                               กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้บนฐานคิดแบบองค์รวม   ดังจะเห็นได้

                   จากความรู้ที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงทัศนะในการมองโลกและมองชีวิตที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  กล่าวคือ

                   การมองเห็นโลกเป็นหน่วยชีวิต ไม่ใช่วัตถุ  โลกจึงมีชีวิต มีจิตวิญญาณ และการมองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง
                   ของธรรมชาติและโลก  การพึ่งพาธรรมชาติในการด ารงชีวิต รวมทั้งทัศนะหรือคติความเชื่อเกี่ยวกับการมี

                                    6
                   อยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์  และการจัดความสัมพันธ์ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน  นอกจากนั้นวิถีชีวิตที่
                   ยากล าบาก ท าให้ความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพาอาศัยระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  หรือศีลธรรมของการ
                   เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน เป็นเงื่อนไขที่ส าคัญของการด ารงชีวิต  โดยนัยนี้ ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นจึงหลอมรวม

                   หรือเป็นองค์รวมที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างทัศนะที่มีต่อธรรมชาติ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมนุษย์จนไม่

                   สามารถแยกความรู้ออกเป็นส่วน ๆ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้  ความรู้จึงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทาง
                   ธรรมชาติ สังคม และเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่  แตกต่างจากความรู้ที่จัดระบบอยู่ในรูปของศาสตร์หรือ



                               6  อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2555) ซึ่งศึกษาโครงสร้างของระบบความเชื่อล้านนาเสนอว่า  ความเชื่อล้านนามีการ
                   ผสมผสานระหว่างความเชื่อเรื่องบุญในพุทธศาสนา  ความเชื่อในการนับถือผี  ไสยาศาสตร์  โหราศาสตร์  การให้ความส าคัญกับการ
                   ผลิตซ้ าหรือการสร้างความต่อเนื่องให้กับสังคม



                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 21
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32