Page 28 - ED211
P. 28
วิทยาการสมัยใหม่ ความรู้ที่ชุมชนสร้างขึ้นจึงไม่ได้เป็นกลาง เพราะมีค่านิยมหรือบอกสิ่งที่ลูกหลานควร
หรือต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้มนุษย์สามารถด ารงชีวิตและอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุข นอกจาก
กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนสะท้อนถึงฐานคิดแบบองค์รวมแล้ว ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นยังมีลักษณะของ
การผสมผสานการเรียนรู้จากความรู้ซึ่งมีที่มาที่หลากหลายเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มคนหรือชุมชนที่
ติดต่อสัมพันธ์กัน นอกจากนั้นความรู้ยังปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือบริบทของชุมชนที่
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีนัยถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น Situated
Knowledge (อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2543: 203)
การวิเคราะห์ความรู้ในการหาปลาของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ ามูน (พร
ใจ ลี่ทองอิน. 2545) อาจช่วยให้เข้าใจทัศนะและการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
มนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมนุษย์กับมนุษย์ที่เป็นฐานคิดของการสร้างความรู้ที่สะสมอยู่ในชุมชนและ
ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน เพราะนอกจากความรู้ในการหาปลาแล้ว ยังถ่ายทอดทัศนะในการมองมนุษย์เป็น
ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและการด ารงอยู่ของสรรพสัตว์มีผลต่อการ
ด ารงชีวิตของมนุษย์ ศีลธรรมของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปันและการพึ่งพาอาศัยระหว่างคนหาปลา
ด้วยกันเองและกับคนนอกชุมชน
การพึ่งพาแม่น้ ามูนในทุกมิติของชีวิต ท าให้แม่น้ ามูนไม่เพียงเป็นฐานทรัพยากรที่หล่อเลี้ยง
ครอบครัวและสร้างความเป็นชุมชนเท่านั้น หากแต่ยังเป็นแหล่งสร้างความรู้ คัดสรร ถ่ายทอดและผลิต
ซ้ าความรู้เพื่อให้สามารถด ารงชีวิตในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะแบบนี้ได้ ดังนั้นแม้จะไม่
เคยปิดกั้นหรือหวงห้ามไม่ให้คนจากถิ่นอื่นมาหากินจากแม่น้ าเช่นเดียวกับตนเองและบรรพบุรุษก็ตาม แต่
คนจากบ้านโคก (หมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่บนที่ดอนห่างไกลจากแม่น้ ามูน) ก็สมัครใจที่จะปลูกข้าวแล้วน าข้าว
ส่วนที่เหลือจากการบริโภคใส่เกวียนลากมาแลกปลา เช่นเดียวกับคนอีกหลายหมู่บ้านที่น าเกลือใส่เกวียน
หรือล่องเรือมาแลกปลา เพราะคนเหล่านี้ต่างรู้ดีว่าการหาปลาในล าน้ าสายนี้ไม่ใช่สิ่งที่กระท าได้ง่าย ยิ่ง
ไปกว่านั้น บางบริเวณที่มีปลาอยู่ชุกชุมยังเต็มไปด้วยอันตราย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งที่ปิดกั้นไม่ให้คน
ที่อยู่ห่างไกลจากแม่น้ ามูนมา“หากิน”จากล าน้ าสายนี้ก็คือ ความรู้ที่คนหาปลาสร้างขึ้นจากการหาปลาใน
แม่น้ ามูนนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความช านาญเกี่ยวกับสภาพของแม่น้ าที่มีระบบนิเวศเฉพาะแบบหนึ่ง
ความรู้ความเข้าใจในวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ าที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ความรู้เกี่ยวกับแหล่งที่อยู่
ของปลาและช่วงฤดูกาลแห่งการอพยพ และความรู้ความช านาญในการใช้เครื่องมือจับปลาประเภทต่าง ๆ
คนหาปลาที่มีความช านาญจนถูกเรียกว่าพรานปลาจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพของแม่น้ ามูนในแต่ละ
พื้นที่เป็นอย่างดีหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“รู้วิธีหาของแก่ง” พรานปลาจะรู้สภาพทางกายภาพของแก่ง
ทั้งหมดในล าน้ าสายนี้เป็นอย่างดีว่าแต่ละแก่งมีลักษณะอย่างไร โพรงหินใต้น้ ามีลักษณะอย่างไร โพรงลึก
หรือไม่ ปากถ้ าอยู่บริเวณใด น้ าลึกหรือตื้น เพราะความยากหรือง่ายในการจับปลาจะขึ้นอยู่กับสภาพ
ของพื้นที่นั้น ๆ เช่น แก่งจมจะเป็นแก่งที่จับปลายากที่สุด เนื่องจากแก่งลึกและโพรงหินซึ่งเป็นบ้านของ
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 22