Page 6 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 3
P. 6
ห่วงใยแม่ ดูแลลูก
ห่วงใยแม่ ดูแลลูก
สุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์
สุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์
เรื่องส�ำคัญที่หลำยคนเมิน !!! ำยคนเมิน !!!
เรื่องส�ำคัญที่หล
ทพ.เฉลิมพงศ์ ตั้งวิจิตรสกุล
ทันตแพทย์ช�านาญการ
กองทันตสาธารณสุข
ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร
ขณะตั้งครรภ์หรือเริ่มเป็นคุณแม่ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง
หลายอย่าง รวมทั้งในช่องปากก็จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
อาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมีดังนี้
1. ภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป จะท�าให้เกิดเหงือกอักเสบได้ง่าย
คุณแม่จึงควรท�าความสะอาดช่องปาก แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ผสม
ฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธี และควรไปพบทันตแพทย์
เพื่อรับการขูดหินปูน และตรวจสุขภาพช่องปาก
2. มีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งจะท�าให้กรดจากกระเพาะอาหาร
ออกมาตกค้างตามผิวฟันและซอกฟัน อาจท�าให้ฟันสึกกร่อนได้
3. หิวบ่อย หิวไม่เป็นเวลา คุณแม่มักจะรับประทานจุบจิบ ท�าให้เสี่ยงต่อ
การเกิดฟันผุ และการทานอาหารเปรี้ยวบ่อยๆ ก็มีผลท�าให้ฟันสึกกร่อนได้เช่นกัน
ท�าอย่างไรดี ? ...เมื่อปวดฟันระหว่างตั้งครรภ์
อย่างแรกคงต้องหาหมอฟันให้ช่วยประเมินว่าควรรักษาอย่างไร ถ้าคุณหมอเห็นว่าเป็นไม่มาก อาจจะให้ทานยาแก้ปวด
(พาราเซตามอล) เพื่อบรรเทาอาการไปก่อน ทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ยานี้ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
ถ้าอาการปวดยังไม่ดีขึ้นควรไปปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทานเอง ที่ส�าคัญไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการปวดต่อเนื่องนานๆ
เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์หรือการตั้งครรภ์ เช่น กระตุ้นให้เกิดการคลอดทารกก่อนก�าหนดก็เป็นได้
ระหว่างการตั้งครรภ์ ท�าฟันได้หรือไม่ ?
การท�าฟันโดยทั่วไปไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรไป
พบทันตแพทย์ เพื่อขอค�าแนะน�า และตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ หรือถ้ามีปัญหา
ซับซ้อนและจ�าเป็นที่จะต้องรับการรักษายุ่งยาก เช่น ต้องมีการใช้ยาชา
การถอนฟันหรือการรักษารากฟัน ทันตแพทย์อาจนัดให้มาท�าการรักษาในช่วง
อายุครรภ์ 4 - 6 เดือน หรือนัดหลังจากคลอดบุตรแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ปลอดภัย
ต่อการท�าฟัน
6 วารสารสุขภาพ
ส�านักอนามัย