Page 11 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 3
P. 11

วิธีแก้ไขปัญหาฟันห่าง


                  1.  การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน โดยการใช้วัสดุอุดฟันที่มีสีเหมือนฟัน อุดเติมขนาดของฟัน

           แต่ละซี่ให้ใหญ่ขึ้นจนชิดกัน วิธีนี้สามารถปิดช่องฟันหน้าที่ห่างกันได้อย่างสวยงาม โดยที่ไม่ต้องมีการกรอฟันเลย
           อาจจะมีเพียงการกรอผิวเคลือบฟันเพื่อลดความนูนของสันฟันลงเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความสวยงามดูสมดุล
           กันของฟันทั้งสองซี่ แต่มีข้อเสียคือ ต้องระมัดระวังที่จะไม่ใช้ฟันหน้า กัดแทะอาหารแข็ง เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ หรือ
           ผลไม้แข็งๆ  เพราะสามารถท�าให้วัสดุอุดฟันนั้นหลุดได้  รวมถึงปัญหาเหงือกอักเสบในบริเวณนั้นได้ถ้าดูแลเรื่อง

           ความสะอาดไม่ดีเพียงพอ
                  2.  การท�าเคลือบฟันหรือวีเนียร์ (Veneer) วิธีนี้ทันตแพทย์จะท�าการกรอฟันทางด้านหน้า

           ออกบางส่วน แล้วใช้วัสดุพอร์ซเลน (Procelain) หรือวัสดุอุดสีเหมือนฟัน (Composite Resin) มาปิดทับลงบน
           ด้านหน้าฟันที่กรอไว้  โดยจะยึดวีเนียร์ติดกับตัวฟันด้วยวัสดุยึดติดที่เฉพาะ  วิธีนี้เหมาะส�าหรับฟันหน้าที่ไม่ต้องรับ
           แรงกระแทกใดๆ และไม่แนะน�าให้ท�าในผู้ป่วยที่มีประวัติการนอนกัดฟัน

                  3.  การท�าครอบฟัน จะใช้กับกรณีที่ฟันมีขนาดเล็กมากหรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาฟันห่างได้ด้วย

           การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน (Composite Resin) หรือวีเนียร์ (Veneer) ได้
                  4.  รักษาด้วยการจัดฟัน เพื่อเคลื่อนฟันและปิดช่องฟันห่าง นอกจากนั้นยังช่วยแก้ไขฟันซ้อนเก

           ในต�าแหน่งอื่นๆ การจัดฟันมีทั้งแบบใส่เครื่องมือถอดได้และแบบติดเครื่องมือ


















           การดูแลสุขภาพฟัน ป้องกันปัญหาฟันห่าง


                  •  การป้องกันท�าได้โดยการแปรงฟันให้สะอาด ใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีและสม�่าเสมอ
                  •   ส�าหรับการรักษาโรคเหงือก ท�าได้โดยการขูดหินปูน ส�าหรับผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรง จ�าเป็นต้อง

           ท�าการเกลารากฟัน เพื่อก�าจัดหินปูนที่สะสมอยู่ใต้เหงือก จะท�าให้การอักเสบลดลง เหงือกรัดแน่นกับรากฟันมากขึ้น
           และการโยกของฟันลดลง ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนต�าแหน่งของฟัน จนเกิดช่องฟันห่างลดลงด้วย
                  •   ไม่ใช้ลิ้นดุนฟัน
                  •   ดูแลสุขภาพฟันของเด็กเล็กไม่ให้ติดนิสัยดูดนิ้ว และดูแลรักษาอนามัยช่องปากอย่างเหมาะสม

                  •   พบทันตกรรมเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจ�าอย่างน้อยทุก 6 เดือน
           “ฟันห่าง....ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม หากได้รับการแก้ไข นอกจากจะช่วย

                    ให้ยิ้มอย่างมั่นใจแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้คุณ”



                                                                                      วารสารสุขภาพ    11
                                                                                        ส�านักอนามัย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16