Page 14 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 3
P. 14
เติมใจ ใส่ยิ้ม
CLICK HERE
ทักษะเด็กไทย
ทักษะเด็กไทยในยุคดิจิตอลในยุคดิจิตอล
@ จุฑาทิพ วงษ์สุวรรณ
นักจิตวิทยาช�านาญการพิเศษ
กองสร้างเสริมสุขภาพ
ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม สื่อเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทต่อการด�าเนินชีวิต ทักษะที่จ�าเป็น
เพื่อการรู้เท่าทันของเด็กไทย ในยุคที่สังคมก�าลังพัฒนาเข้าสู่ยุค 4.0 เป็นประเด็นที่ท้าทายส�าหรับพ่อแม่ในการดูแล
เอาใจใส่ลูก
การวางรากฐานเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูกได้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องตระหนัก
สิ่งส�าคัญพ่อแม่ต้องให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย และให้ลูกได้เข้าถึงเทคโนโลยีช้าที่สุดเท่าที่จะ
ท�าได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จ�าเป็นโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต�่ากว่า 2 ปี ควรดูแลไม่ให้เด็กดูโทรทัศน์หรือเล่นไอแพด
เพราะเป็นการกีดขวางต่อพัฒนาการเด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้เพราะ “หน้าต่างแห่งโอกาส” จะเกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย
ช่วงแรกเกิด - 6 ปี โดยเด็กที่มีอายุในช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาที่มีความส�าคัญอย่างยิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้อง
ตระหนักและเอาใจใส่ เพราะหากเด็กไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ขาดการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
เมื่อเวลาผ่านเลยช่วงนี้ไปหน้าต่างแห่งโอกาสบานนี้จะปิดลง และถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาอย่างจริงจัง เมื่อเด็ก
เข้าสู่วัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จะท�าได้ยาก และอาจไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกับที่เด็กได้รับ
การปลูกฝังในช่วงปฐมวัย
ก่อนที่จะเสริมสร้างทักษะให้กับลูก
พ่อแม่ควรต้องฝึกการควบคุมอารมณ์ของ
ตัวเองให้ได้ก่อน รวมถึงมีความเข้าใจพฤติกรรม
และอารมณ์ของลูกในแต่ละวัย ทั้งนี้อารมณ์
ของพ่อแม่ที่มีต่อการเลี้ยงลูกย่อมส่งผลถึง
ตัวเด็กได้ในอนาคต หากพ่อแม่มีความเข้าใจ
ในตัวลูก มีความพร้อมทางอารมณ์ในการ
เลี้ยงลูก เด็กจะมีการเรียนรู้ได้เร็ว โดยการ
เรียนรู้ของเด็กผ่านการที่เด็กได้เล่น ได้เห็น
ได้ยิน สัมผัส เกิดจินตนาการ มีความพร้อม
และมีพัฒนาการตามวัย น�าไปสู่การพัฒนา
ด้านการเรียนรู้ทางความคิด ซึ่งมีความส�าคัญ
ส�าหรับเป็นพื้นฐานเมื่อเข้าสู่วัยเรียน
14 วารสารสุขภาพ
ส�านักอนามัย