Page 78 - Annual Report 2552
P. 78

PDMO         PUBLIC DEBT

                                                                                                     MANAGEMENT
                                                                                                     OFFICE








            สภาพคล่องของพันธบัตรรัฐบาลให้ซื้อง่ายขายคล่อง เพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น และต้อง

            พัฒนารูปแบบของพันธบัตรรัฐบาลให้มีความหลากหลาย  เช่น  พันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ย

            ลอยตัว และในอนาคตก็จะมีพันธบัตรที่ไปเชื่อมโยงกับ index ต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น เพื่อสนับสนุน
            ให้ภาคเอกชนและนักลงทุนต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดมากขึ้น  และรองรับความต้องการระดมทุนของ
            ภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้น
                    3. การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ Portfolio Benchmark


                      การบริหารหนี้และการบริหารความเสี่ยงต้องมีทิศทางที่ชัดเจนโดยการนำา Portfolio  Benchmark
            มาใช้ในการกำาหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารหนี้ในระยะกลางและระยะยาว โดยนำาแบบจำาลองบริหาร
            ความเสี่ยง (Risk Model) มาเป็นเครื่องมือในการกำาหนดพอร์ตหนี้สาธารณะที่เหมาะสม ซึ่งคำานึงถึงต้นทุน

            และความเสี่ยง โดยกำาหนดเป็นสัดส่วนต่างๆ เช่น สัดส่วนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว

            สัดส่วนหนี้ระยะสั้นและระยะยาว สัดส่วนหนี้ในประเทศและหนี้ต่างประเทศ และสัดส่วนเงินสกุลต่างประเทศ
            ทั้งนี้ การกำาหนดกลยุทธ์การบริหารหนี้จะดำาเนินให้เป็นไปตามทิศทางของ Portfolio Benchmark เพื่อช่วยลด
            ความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้และลดภาระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงการสร้างระบบติดตามและ

            เฝ้าระวังความเสี่ยง (Early Warning System) จากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดที่อาจส่งผลกระทบ

            ต่อ Portfolio ของหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความท้าทายมาก
                    4. การสร้างความแข็งแกร่งขององค์กร และการพัฒนาบุคลากร

                      สบน. จะทำางานประสบความสำาเร็จได้ องค์กรจะต้องมีความเข้มแข็งและบุคลากรต้องมีคุณภาพ
            ดังนั้น ต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้แก่องค์กร และพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งหมายถึงต้องมีความรู้

            ความสามารถรอบด้าน และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ และมีประสบการณ์
            ในการจัดทำาโครงการและการวิเคราะห์โครงการ โดยการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องและคัดเลือกบุคลากรใหม่

            เข้ามาเสริมทีมให้เข้มแข็งมากขึ้น ในขณะเดียวกัน องค์กรจะต้องมีสถานที่ทำางานที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี เครื่องมือ
            และอุปกรณ์ที่มีความพร้อมและทันสมัย ซึ่งทั้งสององค์ประกอบจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ สบน. ใน

            การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็น “องค์กรที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับสากล ในการเสนอแนะนโยบาย
            และดำาเนินการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ โดยคำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศ มีระบบการบริหารจัดการที่มี

            ประสิทธิภาพ ทันสมัย และมีบุคลากรที่มีคุณภาพ”
                      ก้าวต่อไปของ สบน. จึงเป็นก้าวที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อว่าหากสามารถดำาเนินการได้ตามกลยุทธ์หลัก

            ทั้ง 4 องค์ประกอบอย่างมุ่งมั่น สบน. จะเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำาเร็จในการบริหารจัดการหนี้
            และส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สุดท้ายนี้ สิ่งที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง คือ การได้รับความร่วมมือและ

            สนับสนุนการดำาเนินงานจากทุกภาคส่วน ในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ






                                                                                 (น�ยจักรกฤศฏิ์  พ�ร�พันธกุล)
                                                                              ผู้อำ�นวยก�รสำ�นักง�นบริห�รหนี้ส�ธ�รณะ
                                                                                  (ธันว�คม 2552 – ปัจจุบัน)


                                                                           รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009  77
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83