Page 36 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 36
28
หลักฐานที่มีระบบและมีการจัดการโดยครูและผู้เรียนเพื่อการตรวจสอบความก้าวหน้าหรือการเรียนรู้
ด้านความรู้ ทักษะและเจตคติในเรื่องเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่ง
กล่าวโดยทั่วไป แฟ้มสะสมงานจะมีลักษณะที่ส าคัญ 2 ประการคือ
- เป็นเหมือนสิ่งที่รวบรวมหลักฐานที่แสดงความรู้และทักษะของผู้เรียน
- เป็นภาพที่แสดงพัฒนาการของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตลอดช่วงเวลาของการเรียน
6. จุดมุ่งหมายของการประเมินโดยใช้แฟ้ มสะสมงาน มีดังนี้
ช่วยให้ครูได้รวบรวมงานที่สะท้อนถึงความส าคัญของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ใหญ่ของการ
เรียนรู้
ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถจัดการเรียนรู้ของตนเอง
ช่วยให้ครูได้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความก้าวหน้าของผู้เรียน
ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น
ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า ตลอดช่วงระหว่างการเรียนรู้
ช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงประวัติการเรียนรู้ของตนเอง
ช่วยท าให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการสอนกับการประเมิน
7. กระบวนการของการจัดท าแฟ้ มสะสมงาน
การจัดท าแฟ้มสะสมงาน มีกระบวนการหรือขั้นตอนอยู่หลายขั้นตอน แต่ทั้งนี้ก็สามารถปรับปรุง
ได้อย่างเหมาะสม Kay Burke (1994) และคณะ ได้ก าหนดขั้นตอนของการท าแฟ้ มสะสมงานไว้ 9 ขั้นตอน
ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรวบรวมและจัดระบบของผลงาน
ขั้นที่ 2 การเลือกผลงานหลักตามเกณฑ์ที่ก าหนด
ขั้นที่ 3 การสร้างสรรค์แฟ้มสะสมผลงาน
ขั้นที่ 4 การสะท้อนความคิด หรือความรู้สึกต่อผลงาน
ขั้นที่ 5 การตรวจสอบเพื่อประเมินตนเอง
ขั้นที่ 6 การประเมินผล ประเมินค่าของผลงาน
ขั้นที่ 7 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบุคคลอื่น
ขั้นที่ 8 การคัดสรรและปรับเปลี่ยนผลงานเพื่อให้ทันสมัย
ขั้นที่ 9 การประชาสัมพันธ์ หรือจัดนิทรรศการแฟ้มสะสมงาน