Page 78 - ศาสนาและหน้าที่พลเมือง ม.ต้น
P. 78

70

                     1.2 ประเพณีไทย

                       ประเพณีไทยเปนวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เปนสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีต
               และปจจุบัน  ประเพณีแสดงถึงความเจริญรุงเรืองของประเทศไทยที่สืบเนื่องมา เปนสิ่งที่คนไทยควร

               ศึกษาทําความเขาใจและชวยกันอนุรักษ โดยปกติแลวศาสนาและความเชื่อมีอิทธิพลตอประเพณีไทย
               สําหรับประเพณีไทยจําแนกออกเปน 2 ประเภท คือ พระราชประเพณี และประเพณีในทองถิ่นตาง ๆ

                       พระราชประเพณีที่สําคัญ ๆ คือ
                       พระราชพิธีถือน้ําพิพัฒนสัตยา ไดรับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณทําในโอกาสที่พระเจา-

               แผนดินขึ้นครองราชยสมบัติ เปนการแสดงออกของจิตใจขาราชการชั้นผูใหญที่ทรงอํานาจอยูใน
               แผนดิน จะมีความยินยอมพรอมใจ พระราชประเพณีนี้ ไดลมเลิกตั้งแตสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมา

               เปนระบอบประชาธิปไตย การถือน้ําพิพัฒนสัตยานี้ ใชน้ํา เปนสื่อกลางอาคมศาสตราวุธตาง ๆ วาคาถาแลว
               เสียบลงในน้ํา แลวนําไปแจกกันดื่ม และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-

               ภูมิพลอดุลยเดช ทรงฟนฟูการถือน้ํา ในวันพระราชทานตรารามาธิบดีแกทหารหาญของชาติ ซึ่งเปน
               สิ่งที่นาปลื้มใจ ที่พระองคพยายามรักษาพระราชประเพณีดั้งเดิมไว

                       พระราชพิธีทอดพระกฐินหลวง โดยการเสด็จพระราชดําเนินทางชลมารคขบวนพยุหยาตรา
               อยางแบบโบราณ ปจจุบันทําในวาระสําคัญ ๆ เปนการอนุรักษโบราณประเพณีไว มีการซอมฝพายเรือ

               พระที่นั่งสุพรรณหงส เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ฯลฯ ความสวยงามวิจิตร ตระการตา ของพระราชพิธีนี้
               ไมมีประเทศใดเสมอเหมือน สวนมากการทอดกฐินหลวงทําเปนประจําทุกป เสด็จทรงชลมารคเปนปกติ


                       ประเพณีตาง ๆ ในทองถิ่นของไทย
                       ประเพณีตรุษสงกรานต มีทุกทองถิ่นในวันขึ้นปใหมของไทย มีประเพณีสรงน้ําพระ ทําบุญ

               ไหวพระ รดน้ําขอพรผูสูงอายุ ตรงกับวันที่  13  เมษายนของทุกป แตละทองถิ่นจะแตกตางกันใน

               รายละเอียดปลีกยอย สําหรับประเพณีตรุษสงกรานตในภาคเหนือ ยังคงสวยงามนาชม สมควรอนุรักษ
               วัฒนธรรมการรดน้ําดําหัวใหดํารงสืบตอไป
                       ประเพณีลอยกระทง ทําในเดือน 12 ประเพณีนี้เกิดขึ้นตั้งแตสมัยกรุงสุโขทัย มีวัตถุประสงค

               คือ ตกแตงกระทงดวยวัสดุดอกไม จุดธูปเทียนลอยกระทงลงแมน้ําลําคลอง เพื่อขอโทษพระแมคงคาที่
               ประชาชนไดอาศัยดื่มกิน และเพื่อไหวพระพุทธเจาปางประทับอยูใตเกษียรสมุทร

                       ประเพณีทําบุญวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา วันมาฆบูชา แหเทียนวันเขาพรรษา วันออก-
               พรรษา ทําบุญวันธรรมสวนะ ถวายผาอาบน้ําฝน ทอดผาปา ทอดกฐิน เทศนมหาชาติ เปนประเพณี

               สําคัญของชาวพุทธ
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83