Page 76 - ศาสนาและหน้าที่พลเมือง ม.ต้น
P. 76
68
เรื่องที่ 1 วัฒนธรรม ประเพณีของไทยและเอเชีย
1. วัฒนธรรม ประเพณีของไทย
1.1 วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมในภาษาไทย เกิดมาจากการรวมคํา 2 คํา คือ วัฒนะ หมายถึง ความเจริญงอกงาม
รุงเรือง และ คําวา ธรรม หมายถึง การกระทําหรือขอปฏิบัติ รวมแลวแปลวา วัฒนธรรม คือ ขอปฏิบัติ
เพื่อใหเกิดความเจริญงอกงาม พระยาอนุมานราชธน กลาววา วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษยเปลี่ยนแปลง
ปรับปรุง หรือผลิต หรือสรางขึ้น เพื่อความสวยงามในวิถีชีวิตของสวนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีทางแหง
ชีวิตมนุษยในสวนรวมที่ถายทอดกันได เรียกกันได เอาอยางกันได กลาวโดยสรุปแลว วัฒนธรรม
หมายถึง ทุกสิ่งทุกอยางที่มนุษยสรางขึ้นไว เพื่อนําเอาไปชวยพัฒนาชีวิตความเปนอยูในสังคม ซึ่ง
จะรวมถึง ชวยแกปญหา และชวยสนองความตองการของสังคม
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแหงชาติ พ.ศ. 2485 ไดแบง ประเภทของวัฒนธรรมไทยไว
4 ประเภท คือ
1. คติธรรม คือ วัฒนธรรมเกี่ยวกับหลักในการดําเนินชีวิต สวนใหญเปนเรื่องความเชื่อ ซึ่ง
เปนเรื่องของจิตใจที่ไดมาจากศาสนา
2. เนติธรรม คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือวามี
ความสําคัญพอ ๆ กับกฎหมาย
3. วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางวัตถุ เชน เครื่องนุงหม บานเรือน ยารักษาโรค เครื่องมือ
เครื่องใชตาง ๆ
4. สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม คือ คุณธรรมตาง ๆ ที่ทําใหคนอยูรวมกันอยางมี
ความสุข รวมทั้งระเบียบมารยาทตาง ๆ การแตงกายในโอกาสตาง ๆ
กลาวโดยสรุปวัฒนธรรมมี 2 ประเภท คือ วัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไมใชวัตถุ
สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติแบงเนื้อหาวัฒนธรรมเปน 5 ประเภท คือ
1. ศิลปกรรม ไดแก ภาษา วรรณกรรม การละคร นาฏศิลป ดนตรี จิตรกรรม สถาปตยกรรม
ประติมากรรม และศิลปะการแสดง
2. มนุษยศาสตร ไดแก คุณธรรม จริยธรรม คานิยม กฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี
การปกครอง ประวัติศาสตร โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา
3. การชางฝมือ ไดแก การเย็บปกถักรอย การแกะสลัก การทอ การจักสาน การทําเครื่องถม
เครื่องเงิน เครื่องทอง