Page 76 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 76

75




                     โครงสร้างของโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ถ้าหากไม่พอดีกันจะต้องมี Accessory   pigment   มาช่วยรับ
                     แสง  โดยมีลักษณะเป็นแผงรับพลังงาน  (Antenna  system)  แล้วส่งพลังงานต่อไปให้คลอโรฟิลล์เอ

                     ดังกล่าวมาแล้ว ในสภาพธรรมชาติ เช่น ในป่าหรือท้องทะเลลึก  แสงที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ในการ

                     สังเคราะห์แสงได้มักจะถูกกรองเอาไว้โดยต้นไม้ที่สูงกว่าหรือแสงดังกล่าวไม่สามารถส่องลงไป

                     ถึง   พืชเหล่านี้มักจะได้รับแสงสีเขียวเท่านั้น พืชเหล่านี้หลายชนิดจะพัฒนาระบบให้มีรงควัตถุซึ่ง
                     สามารถน าเอาพลังงานจากแสงสีเขียวมาใช้ประโยชน์ได้

                            2.3. อุณหภูมิ  ช่วงอุณหภูมิที่พืชสังเคราะห์แสงได้ค่อนข้างกว้าง เช่น แบคทีเรีย และสาหร่ายสี

                     น ้าเงินแกมเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ที่อุณหภูมิ 70  องศาเซลเซียส ในขณะที่พืชตระกูลสน
                     สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างช้ามากที่อุณหภูมิ –6 องศาเซลเซียส พืชในเขตแอนตาร์คติก           บาง

                     ชนิด  สามารถสังเคราะห์แสงได้ที่อุณหภูมิ –18   องศาเซลเซียส  และอุณหภูมิเหมาะสมในการ

                     สังเคราะห์แสงเท่ากับ 0  องศาเซลเซียส ใบของพืชชั้นสูงทั่ว ๆ ไป อาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง 35  องศา
                     เซลเซียส ในขณะได้รับแสง  แต่การสังเคราะห์แสงก็ยังด าเนินต่อไปได้  ผลของอุณหภูมิต่อการ

                     สังเคราะห์แสงจึงขึ้นกับชนิดของพืชและสภาพแวดล้อมที่พืชเจริญเติบโต เช่น พืชทะเลทราย

                     จะมีอุณหภูมิเหมาะสมสูงกว่าพืชในเขตอาร์คติก พืชที่เจริญได้ดีในเขตอุณหภูมิสูง เช่น ข้าวโพด ข้าว
                     ฟ่าง ฝ้ าย และถั่วเหลืองจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมสูงกว่าพืชที่เจริญได้ดีในเขตอุณหภูมิต ่า เช่น มันฝรั่ง

                     ข้าวสาลี และข้าวโอ๊ต โดยทั่วไปอุณหภูมิเหมาะสมในการสังเคราะห์แสงของพืชแต่ละชนิดจะใกล้เคียง

                     กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมตอนกลางวันในเขตนั้น ๆ ตามปกติพืช C  จะมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการ
                                                                                 4
                     สังเคราะห์แสงสูงกว่าพืช C   ค่า Q    ของการสังเคราะห์แสงประมาณ  2-3    และอุณหภูมิจะมี
                                             3
                                                    10
                     ผลกระทบต่อ Light  Reaction น้อยมาก เมื่อเทียบกับ Enzymatic Reaction
                             2.4. น ้า  จะเกี่ยวข้องกับการปิดเปิดของปากใบ  และเกี่ยวข้องกับการให้อีเลคตรอน               เมื่อ

                     เกิดสภาวะขาดแคลนน ้า  พืชจะคายน ้าได้เร็วว่าการดูดน ้าและล าเลียงน ้าของราก   ท าให้ต้นไม้สูญเสียน ้า
                     อย่างรวดเร็ว  ท าให้การท างานของเอนไซม์ต่าง ๆ ผิดปกติ และต่อมาปากใบจะปิด การขาดแคลนน ้าที่ต ่า

                     กว่า 15  เปอร์เซ็นต์  อาจจะยังไม่มีผลกระทบกระเทือนต่ออัตราการสังเคราะห์แสงมากนัก แต่ถ้าเกิด

                     สภาวะขาดแคลนถึง 15 เปอร์เซ็นต์แล้วจะท าให้ปากใบปิดจึงรับคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้

                             2.5. ธาตุอาหาร
                             เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีแมกนีเซียมและไนโตรเจนเป็นธาตุที่อยู่ในโมเลกุลด้วย ดังนั้นหากมี

                     การขาดธาตุทั้งสองจะท าให้การสังเคราะห์แสงลดลง
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81