Page 11 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 11
2
เรื่องที่ 1 ความหมาย ความส าคัญ และกระบวนการของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นเป็น
อันมาก การเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาไม่อาจท าให้บุคคลศึกษาความรู้ได้ครบทั้งหมด การไขว่คว้าหา
ความรู้ด้วยตนเอง จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสนองความต้องการของบุคคลได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่บุคคลมีใจ
รักที่จะศึกษา ค้นคว้า สิ่งที่ตนต้องการจะรู้ บุคคลนั้นก็จะด าเนินการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้อง
มีใครบอก ประกอบกับระบบการศึกษาและปรัชญาการศึกษาเพื่อเตรียมคนให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่หาความรู้ รู้แหล่งทรัพยากรการเรียน รู้วิธีการหาความรู้ มีความสามารถ
ในการคิดเป็น ท าเป็น แก้ปัญหาเป็น มีนิสัยในการท างานและการด ารงชีวิต และมีส่วนร่วมในการ
ปกครองประเทศ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ
ของตนเองโดยการค้นพบความสามารถและสิ่งที่มีคุณค่าในตนเองที่เคย
มองข้ามไป
(“...it is possible to help learners expand their potential by discovered that
which is yet untapped…”) (Brockett & Hiemstra, 1991)
การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นการ
จัดการศึกษาที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียนที่อยู่นอกระบบ ซึ่งเป็นผู้ที่มี
ประสบการณ์จากการท างานและการประกอบอาชีพ โดยการก าหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้การพัฒนากับกลุ่มเป้ าหมายด้านจิตใจ ให้มีคุณธรรม ควบคู่ไป
กับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียง รวมทั้งค านึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ดังนั้น ในการศึกษาแต่ละรายวิชา
ผู้เรียนจะต้องตระหนักว่า การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 นี้ จะสัมฤทธิ์ผลได้ด้วยดีหากผู้เรียนได้ศึกษาพร้อมทั้งการปฏิบัติตามค าแนะน าของครู
แต่ละวิชาที่ได้ก าหนดเนื้อหาเป็นบทต่าง ๆ โดยแต่ละบทจะมีค าถาม รายละเอียดกิจกรรมและแบบฝึกปฏิบัติ
ต่าง ๆ ซึ่งผู้เรียนจะต้องท าความเข้าใจในบทเรียน และท ากิจกรรม ตลอดจนท าตามแบบฝึกปฏิบัติที่ได้
ก าหนดไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งในหนังสือแบบฝึกปฏิบัติของแต่ละวิชาได้จัดให้มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังกล่าว
ตลอดจนแบบประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้วัดความรู้เดิมและวัดความก้าวหน้าหลังจากที่ได้เรียนรู้