Page 4 - การวิจัยเพื่อการศึกษา
P. 4

-2-


                     ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล (2543 : 21) สรุปความหมายของการวิจัยไว้ว่า การวิจัยคือการศึกษาค้นคว้า

               อย่างมีระบบระเบียบเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและแสวงหาคำตอบ เป็นกระบวนการที่อาศัยวิธีการทาง
               วิทยาศาสตร์เป็นหลัก

                          บุญเรียง ขจรศิลป์ (2533 : 5) ได้ให้ความหมายของคำว่า การวิจัยทางด้านวิชาการ หมายถึง

               กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมี

               ระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


                       จากที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ที่มี

               ระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแกไขปัญหา หรือก่อให้เกิด
                                                                                   ้
               ความรู้ใหม่ๆ  ดังนั้น การวิจัยทางการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆที่เป็นความจริง

               เชิงตรรกะ(Logical)หรือความจริงเชิงประจักษ์(Empirical) เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาอย่างมีระบบและมี

               วัตถุประสงค์ที่แน่นอนโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก


                       กล่าวคือ การวิจัย คือ การค้นคว้าหาข้อเท็จจริงใหม่ๆ ในสาขาวิชาต่างๆ โดยอาศัยระเบียบวิธีการวิจัย

               (Research Method) ซึ่งมีลักษณะเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)


               วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ (Methods of acquiring knowledge) ในการวิจัย จำแนกได้ดังนี้

                      1. วิธีโบราณ (Older methods) ในสมัยโบราณมนุษย์ได้ความรู้มาโดย

                                                  ี
                               1.1 การสอบถามผู้รู้หรือผู้มอำนาจ (Authority) เป็นการได้ความรู้จากการสอบถามผู้รู้ หรือผู้
               มีอำนาจ เช่น ในสมัยโบราณเกิดโรคระบาด ผู้คนก็จะถามจากผู้ที่มอำนาจว่าควรทำ อย่างไร ซึ่งในสมัยนั้นผู้มี
                                                                      ี
                                     ิ
               อำนาจก็จะแนะนำให้ทำพธีสวดมนต์อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้ช่วยคลี่คลายเหตุการณ์ต่าง ๆ คนจึง
               เชื่อถือโดยไม่มการพิสูจน์
                           ี
                                                                                               ึ
                               1.2 ความบังเอิญ (Chance) เป็นการได้ความรู้มาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งไม่ได้เจตนาที่จะศกษาเรื่องนั้น
               โดยตรง แต่บังเอิญเกิดเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่างทำให้มนุษย์ได้รับความรู้นั้น เช่น เพนนิซิลินจาก

               ราขนมปัง

                               1.3 ขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) เป็นการได้ความรู้มาจากสิ่งที่คนในสังคมประพฤติ

               ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ผู้ที่ใช้วิธีการนี้ ควรตระหนักด้วยว่าสิ่งต่าง

               ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงตรงเสมอไป ดังนั้นผู้ที่

               ใช้วิธีการนี้ควรจะได้นำมาประเมินอย่างรอบคอบเสียก่อนที่จะยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
                               1.4 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) เป็นการได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เมื่อมีปัญหาหรือ

               ต้องการคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดก็ไปถามผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะเรื่องนั้น เช่น เรื่องดวงดาวต่าง ๆ ในท้องฟ้าจากนัก
   1   2   3   4   5   6   7   8   9