Page 7 - การวิจัยเพื่อการศึกษา
P. 7

-5-


                                              ิ
                 ขั้นตอนของวิธีการแก้ปัญหาทางวทยาศาสตร์มีดังนี้
                                1. ขั้นปัญหา (Problem)
                                2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)

                               3. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering Data)

                               4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)

                                5. ขั้นสรุป (Conclusion)


                       โดยในการดำเนินการดำเนินการวิจัยนั้นจะต้องคำนึงถงสิ่งต่างๆ คือ
                                                                   ึ

                       ปัญหาการวิจัย เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการรู้ ต้องการเข้าใจเป็นความต้องการที่จะศึกษา ใฝ่ที่จะรู้และ

               เข้าใจ เป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้วิจัย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดประเด็นปัญญาการวิจัย เพราะปัญหาของการ
               วิจัยเป็นตัวกำหนดเป้าหมายของการวิจัยและเป็นเครื่องชี้แนะแนวทางในการวิจัย         แนวทางในการ

               รวบรวมข้อมูลและช่วยในการเตรียมเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยนำทางในการวิจัยดำเนินไปได้

               สะดวกรวดเร็วและเป็นตัวการสำคัญในการตั้งสมมุติฐานด้วย การเลือกหัวข้อปัญหา ผู้วิจัยต้องให้คำนิยามของ

               ปัญหาที่เลือกมาว่ามีตัวแปรอะไร โครงสร้างและวิธีการวิจัยด้วย


                       การกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในกาวิจัยสำคัญมาก เพราะช่วยขยายความหมายของชื่อเรื่อง
               ให้ชัดเจน ต้องเขียนให้สื่อความหมายชัดเจน อาจเป็นประโยคคำถามหรือบอกเล่าก็ได้ สมมุติฐาน หมายถึง

               การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล คือ เป็นการตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ฯลฯ เป็นต้น


                       การสุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักวิจัยต้องเลือกตัวแทนของกลุ่มประชากรที่มคุณสมบัติตรงกันกับ
                                                                                         ี
               กลุ่มประชากรมาทำการศกษาวิจัยแทน แล้วสรุปผลการวิจัยไปสู่กลุ่มประชากรได้ เรียกกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะ
                                    ึ
               ของกลุ่มตัวอย่างที่ดี ต้องมีลักษณะความเป็นตัวแทนที่ดี และขนาดของกลุ่มตัวอย่างต้องมีจำนวนพอเหมาะที่
               จะทำการทดสอบเพื่อนำผลไปสรุปเป็นผลจากกลุ่มประชากรได้ การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ การ

               สุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non

               – Probability Sampling) และการสุ่มโดยใช้ความน่าจะเป็นและไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Combination of

               Probability Sampling)


                                                            ึ
                       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ทั้งการวิจัยทางการศกษาและวิจัยสังคมศาสตร์ที่ใช้กันมาก ได้แก่
               แบบสอบถาม แบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ มาตรประมาณค่า แบบสำรวจและแบบทดสอบทาง
               จิตวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เริ่มจากการนำข้อมูลมาจัดระเบียบด้วยการแยกประเภทให้

               เป็นหมวดหมู่ในรูปการอ่านเข้าใจ และสะดวกต่อการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12