Page 8 - การวิจัยเพื่อการศึกษา
P. 8

-6-


               (Percentage หรือ %) การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง นิยมใช้ 3 วิธี คือ ฐานนิยม (Mode) มัธยฐาน

               (Median) และค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจาย คือ ลักษณะความแตกต่างกันภายในข้อมูล อาจมี
               แพร่กระจายนิยมใช้มี 3 วิธี คือ พิสัย (Range) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และความ

               แปรปรวน (Variance)


                       การทดสอบสมมุติฐาน เป็นการใช้วิธีการทางสถิติในการทดสอบสมมุติฐาน เพอนำไปสู่การสรุปหรือ
                                                                                      ื่
               การตัดสินใจว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ ประกอบด้วย สมมุติฐานการวิจัยมี 2 ชนิด คือ สมมุติฐานแบบ

                             ี
               มีทิศทาง กับไม่มทิศทางและสมมุติฐานทางสถิติ แปลมาจากสมมุติฐานทางการวิจัยซึ่งเป็นข้อความ ในรูป
               สัญลักษณ์โครงสร้างทางคณิตศาสตร์มี 2 ชนิด คือ สมมุติฐานเป็นกลางหรือสมมุติฐานไม่มีนัยสำคัญกับ
               สมมุติฐานทางเลือกหรือสมมุติฐานมีนัยสำคัญ


                จุดมุ่งหมายของการวิจัย


                                                                                        ื
                      จุดมุ่งหมายของการวิจัยเมื่อพิจารณาตามเป้าหมายในการวิจัยแบ่งได้  2  ประการคอ

                          1. เพื่อเพมพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการ  เป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ
                               ิ่
               สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา ไม่คำนึงถึงเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ เพราะการวิจัยแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพียง

               ต้องการรู้เรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น เช่น การวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติการโคจรของดาวหางเป็นต้น
                          2. เพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิง

               ปฏิบัติโดยตรง เช่น การวิจัยแก้ปัญหาการจราจรการวิจัยปัญหาการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อศึกษาขวัญและ

               กำลังใจในการทำงานเป็นต้น


                    ขั้นตอนของวิธีการทางวทยาศาสตร์ที่ใช้แก้ปัญหาทางการศึกษา
                                        ิ
                                1. การตระหนักถึงปัญหา (Topic Selection) ขั้นนี้ผู้เสาะแสวงหาความรู้มีความรู้สึก หรือ

               ตระหนักว่าปัญหาคืออะไร หรือมีความสงสัยใคร่รู้เกิดขึ้นว่าคำตอบของปัญหานั้นคืออะไร
                               2. กำหนดขอบเขตของปัญหาอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจง และศึกษาค้นคว้าเอกสารอื่นที่

               เกี่ยวข้อง (Literature Survey) ขั้นนี้จะต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ตนจะศึกษาหาคำตอบนั้นมีขอบเขต

               กว้างขวางแค่ไหน

                               3. กำหนดสมมติฐาน (Research Hypothesis) และข้อตกลงเบื้องต้น (Research

                                                                                  ้
               Assumption) ผู้แสวงหาความรู้ คาดคะเนคำตอบของปัญหาโดยการสังเกตจากขอเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่
                                4. กำหนดเทคนิคการรวบรวมขอมูล รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่มีคุณภาพ (Research Tool)
                                                     ้
               ไว้ใช้ในการรวบรวมขอมูลที่จะตอบปัญหาที่ต้องการ
                                 ้
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13