Page 23 - <4D6963726F736F667420576F7264202D20C3D2C2A7D2B9BBC3D0A8D3BBD53534E1A1E9E4A220322DCAE8A7E2C3A7BED4C1BEEC2E646F6378>
P. 23

๒๓



                                                  ผลงานวิจัยและเทคโนโลยี



               - พันธุ์ไหมไทยพื้นบ้านที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ
                        ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านมีการส่งเสริมและได้รับการยอมรับจากเกษตรกร ทั้งในด้านความแข็งแรงและ
               ผลผลิต คณะผู้วิจัยจึงดําเนินการทดสอบพันธุ์ไหมไทยพื้นบ้านในภาคเกษตรกรหลายจังหวัดในเขตภาคเหนือ ซึ่งมี

               สภาพพื้นที่และภูมิอากาศแตกต่างกัน โดยการนําไหมพันธุ์ชนิดฟักออกตลอดปี ซึ่งเป็นพันธุ์ไทยพื้นบ้านที่ได้
               ทดสอบเบื้องต้นในเขตภาคเหนือและพบว่าได้ผลดีและเกษตรกรในพื้นที่ให้การยอมรับมาเปรียบเทียบพันธุ์กับพันธุ์
               มาตรฐาน โดยทําการคัดเลือกเกษตรกรเขตพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วมโครงการฯ จาก 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก

               กําแพงเพชร เชียงราย และแม่ฮ่องสอน จังหวัดละ 5 ราย เลี้ยงไหมพันธุ์ละ 0.5 แผ่น (10,000 ตัว) โดย
               ดําเนินการทดสอบการเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยจํานวน 3  รุ่น เดือนมีนาคม  กรกฎาคม และสิงหาคม 2554   และ
               ดําเนินการสาวไหมทดสอบที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่  ผลการทดลองพบว่า  พันธุ์ไหมที่มีแนวโน้ม
               ความดีเด่นสูงทั้งด้านความแข็งแรงและผลผลิตรังไหม คือพันธุ์นางสิ่วและนางตุ่ย  โดยเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์
               มาตรฐานคือพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1  แล้ว พบว่าไหมพันธุ์นางสิ่วและนางตุ่ยมีความแข็งแรงและให้ผลผลิตรังไหม

               สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน ทั้ง 3 รุ่น ในทุกสภาพพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ โดยไหมพันธุ์นางสิ่วและนางตุ่ยให้ผลผลิต
               รังไหมเฉลี่ย 8.77 และ 9.03 กิโลกรัม/แผ่น และพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 ให้ผลผลิต 6.19 กิโลกรัม/แผ่น









                                                                           นางสิ่ว
                        นางนอยศรีสะเกษ-๑










                                                       นางตุย



                 - แนวทางแก้ไขผลกระทบที่เกิดกับไข่ไหมและผลผลิตรังไหมกรณีระบบขนส่งขาดประสิทธิภาพ
                                                                                                         นางสิ่ว

                       วิธีการขนส่งหรือขนย้ายไข่ไหมจากศูนย์หม่อนไหมฯ ต้นทาง ไปยังกลุ่มเกษตรกรเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญที่
               ส่งผลกระทบต่อการมีชีวิต การฟักออกของหนอนไหม ความแข็งแรง และผลผลิตรังไหม คณะผู้วิจัยได้ดําเนินการวิจัย
               โดยกําหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พาหนะในการขนส่ง ระยะทาง และช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเก็บข้อมูลผลกระทบ
               ที่อาจจะเกิดขึ้นกับปัจจัยที่สร้างขึ้นเหล่านั้น โดยมุ่งหวังให้การขนส่ง

               มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกษตรกรได้ไข่ไหมคุณภาพดี สามารถสร้าง
               รายได้ให้กับเกษตรกร โดยศึกษาการขนส่งหรือขนย้ายไข่ไหมโดย
               ขนส่งไข่ไหมพันธุ์อุบลราชธานี 60-35 (ดอกบัว) ในระยะ all blue

               ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้าย และพร้อมฟักออกเป็นตัว
               หนอนไหมที่อุณหภูมิ 25     องศาเซลเซียส เมื่อเปิดรับแสงใน
               วันรุ่งขึ้น โดยใส่กล่องห่อกระดาษดําและขนส่งด้วยวิธีต่างๆ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28