Page 24 - <4D6963726F736F667420576F7264202D20C3D2C2A7D2B9BBC3D0A8D3BBD53534E1A1E9E4A220322DCAE8A7E2C3A7BED4C1BEEC2E646F6378>
P. 24

๒๔

               ผลการทดลองพบว่า การขนส่งไข่ไหมด้วยรถห้องเย็น รถปรับอากาศและรักษาความชื้นด้วยผ้าชุบน้ํา และรถปรับ

               อากาศ ไข่ไหมมีเปอร์เซ็นต์การฟักออกสูง 80-90 เปอร์เซ็นต์ และการขนส่งไข่ไหมด้วย รถห้องเย็น และรถปรับ
               อากาศและรักษาความชื้นด้วยผ้าชุบน้ํา มีผลให้เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอด
               วัยอ่อนสูงกว่าวิธีการอื่นๆ ในขณะที่การขนส่งไข่ไหมในระยะทางมากกว่า

               500 กิโลเมตรขึ้นไป มีผลให้เปอร์เซ็นต์การฟักออกของไข่ไหมลดลง ใน
               เกือบทุกวิธีการขนส่งยกเว้นการขนส่งด้วยรถห้องเย็น และรถปรับอากาศ
               และรักษาความชื้นด้วยผ้าชุบน้ํา ดังนั้น การขนส่งไข่ไหมจากแหล่งผลิตไป
               ยังสถานที่เลี้ยงไหมเพื่อให้หนอนไหมยังคงความแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
               จึงควรทําการขนส่งด้วยรถห้องเย็น หรือรถปรับอากาศและรักษาความชื้น

               ด้วยผ้าชุบน้ํา



               - ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพจากผลหม่อนที่มีองค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ ที่มีผลต่อการลดการทําลาย
               ของเซลล์ประสาทและความบกพร่องของความจําใน Alzheimer’s disease
                       เป็นการดําเนินงานวิจัยร่วมระหว่างกรมหม่อนไหมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปี
               ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔ ในหนูขาวเพศผู้ชนิด Wistar  อายุประมาณ ๘ สัปดาห์ น้ําหนัก ๒๐๐ – ๒๕๐ กรัม ซึ่งได้รับการ
               เหนี่ยวนําให้เกิดความจําบกพร่องเช่นเดียวกับที่พบในโรคสมองเสื่อม การทดลองพบว่า เมื่อหนูขาวรับประทานผงผล

               หม่อนขนาด ๒, ๑๐ และ ๕๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ําหนักตัว มีฤทธิ์ลดการทํางานของ acetylcholinesterase
               enzyme  และเพิ่มปริมาณ acetylcholine  ช่วยให้การเรียนรู้และความจําในภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้น ส่วนสารสกัด
               จากผงผลหม่อนสามารถลด malondialdehyde  (MDA)  และเพิ่มการทํางานของ scavenger  enzymes

               นอกจากนี้ยังพบว่า หนูขาวกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากผลหม่อนมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ดีและสามารถดํารงความจํานั้น
               ไว้ได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด ในภาวะจําลองโรคสมองเสื่อม  และพบว่าสารสกัดผลหม่อนมีศักยภาพในการ
               นําไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มการเรียนรู้และความจําทั้งในวัยแรงงานและวัยสูงอายุ และน่าจะเป็นประโยชน์ในการ
               ป้องกันโรคความจําบกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment ; MCI)  และโรคสมองเสื่อม
               (Alzheimer’s disease) นอกจากนี้ยังพบว่า ผลหม่อนอบแห้งให้ผลต่อการเรียนรู้และความจําดีกว่าสารสกัด

               ผลหม่อน ทั้งมีความสะดวกและต้นทุนต่ํากว่าสารสกัดผลหม่อน  อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณผลหม่อน
               อบแห้งและสารสกัดผลหม่อนที่ใช้ไม่สูงมาก จึงควรมีการขยายผลเพื่อศึกษาการบริโภคหม่อนผลสดเพื่อสร้าง
               เสริมสุขภาพ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29