Page 32 - Ratthasatr Boonpsal
P. 32

22

            ใบงานที่


             1.2  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์



            ค าชี้แจง  ให้นักเรียนตอบค าถามต่อไปนี้
               1.  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อาศัยหลักเกณฑ์ใดบ้าง

                         -  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามเทคโนโลยีการท าเครื่องมือเครื่องใช้ โดยแบ่งเป็นยุคหิน

                    กับยุคโลหะ หรือแบ่งตามลักษณะการด ารงชีวิตของมนุษย์ โดยแบ่งเป็นยุคล่าสัตว์ ที่มนุษย์รู้จักเก็บหาอาหาร ล่าสัตว์ป่า
                    ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ถาวร ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกัน

                    เป็นชุมชน และยุคสังคมเมือง ชุมชนพัฒนาไปเป็นเมืองที่มีจ านวนประชากรมากขึ้น มีการจัดระเบียบการปกครอง
                    เป็นต้น

                         -  สมัยประวัติศาสตร์ จะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเมื่อมนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ
                    ซึ่งอาจบันทึกลงบนกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นดินเหนียว ศิลา เป็นต้น



                2.  การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากล มีกี่สมัย และแต่ละสมัยเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด

                          การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ ตามแบบสากลมี 4 สมัย ได้แก่

                          1)  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวซูเมเรียเมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
                            จนถึงกรุงโรมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนตีแตกใน ค.ศ. 476
                          2)  ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตก ค.ศ. 476 จนถึงพวกเติร์กตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลของ

                            จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกแตกใน ค.ศ. 1453

                          3)  ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
                            ใน ค.ศ.1945

                          4)  ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

                3.  การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากลและแบบไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

                         การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะแตกต่างจากแบบสากลเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย โดยสากลจะ
                    แบ่งออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบันร่วมสมัย ส่วนไทยจะแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ออกหลาย

                    แบบ เช่น แบ่งตามอาณาจักร เช่น สมัยทวารวดี สมัยละโว้ สมัยศรีวิชัย แบ่งตามราชธานี เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา
                   แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ แบ่งตามรัชกาล เช่น

                   สมัยพ่อขุนรามค าแหงมหาราช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยรัชกาลที่ 1 แบ่งตามการเปลี่ยนแปลง
                    ทางการเมือง เช่น สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นต้น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37