Page 12 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 12
Vol.1 No.3 September - December 2016
Journal of MCU Social Development
ที่จะต้องถูกพัฒนาและเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการพัฒนาด้วย (สัญญา สัญญาวิวัฒน์,2546) จะเห็น
ได้ว่าความหมายของNIDAอันหลังนี้เริ่มตระหนักถึง “คน” หรือประชาชนด้วย แต่เป็นประชาชน
ในฐานะผู้รับผลจากากรกระทำา (Client) มากกว่าตระหนักถึงคนในฐานะผู้ร่วมปฏิบัติการพัฒนา
อันที่จริงสามารถกล่าวได้ว่าการพัฒนาสังคมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสาธารณะที่มุ่งเน้นการ
พัฒนาประเทศในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยนั้นมี “นโยบาย
ของรัฐบาล” มากกว่านโยบายสาธารณะ การที่กระบวนการพัฒนาใดๆก็ตามจะสำาเร็จลุล่วงได้
หรือไม่นั้นการยินยอมพร้อมใจที่จะปฏิบัติตามของประชาชนนั้นคือสิ่งสำาคัญมาก หากต้องการให้
ประชาชนยอมรับการพัฒนาใดๆก็ตาม กลยุทธ์ที่ง่ายและลื่นไหลที่สุดย่อมเป็นการให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมในการดำาเนินกระบวนการพัฒนานั้นๆ ต้องให้ชุมชน ครอบครัว วัด และสมาคม
บำาเพ็ญประโยชน์ทั้งหลายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการด้วย
กล่าวคือนอกจากเรื่องทางเศรษฐกิจและการยกระดับรายได้ของประชาชนแล้วนั้น การ
พัฒนาสังคมยังเป็นแนวทางการสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้กับชุมชน การเสริมสร้างคุณภาพ
ชีวิตในแง่ขององค์รวม ตลอดจนเรื่องของสังคมจิตวิทยา วิถีชีวิตไทยและวัฒนธรรมอีกด้วย อาจ
กล่าวโดยรวมได้ว่า การพัฒนาสังคม (Social Development) หมายความรวมถึงกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมเพื่อประชาชน
จะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่มห่ม สุขภาพอนามัย การ
ศึกษา การมีงานทำา มีรายได้เพียงพอในการครองชีพ ประชาชนได้รับความเสมอภาค ความ
ยุติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ
และเพราะการพัฒนาสังคมมีขอบเขตกว้างขวาง สลับซับซ้อน การแก้ไขปัญหาสังคมจึงต้องทำา
อย่างร่วมมือกันจากบุคคลหลายๆฝ่ายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในสังคมนั้นๆจะต้องรับ
รู้ พร้อมที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเสมอ ผนวกการพัฒนาสังคมและการส่ง
เสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยถือหลักประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
ชุมชนนั่นเอง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยตนเอง (People Participation) ซึ่งหาก
จะเรียกการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะนี้ ตามแนวหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงเรียกกระบวนการนี้ว่า “ระเบิดจากข้างใน” คือ
ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเองเป็นผู้กำาหนดวิถีทางของตนเอง เพื่อเลือกแนวทางการพัฒนา
และพร้อมที่จะรับกระแสของการพัฒนาจากข้างนอกที่จะมีเข้ามาในอนาคต ซึ่งในหลวงรัชกาล
ที่9นั้นใช้หลักของประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ให้ความสำาคัญกับการมีส่วนร่วมของชาว
บ้านและประชาชนมาเป็นหลักในการทำางานมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว และได้พระราชทานแนว
การทำางานนี้แก่หน่วยงานราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการกำาหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อสร้าง
ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติควรจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไม่ทาง
ใดก็ทางหนึ่งและเห็นว่าการกระจายอำานาจให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นทาง
เลือกในการสร้างประเทศให้พัฒนาไปในแนวทางที่ประชาชนในฐานะพลเมืองของประเทศเป็นผู้
กำาหนดชะตากรรมและมีความรับผิดชอบต่อประเทศร่วมกันเป็นสำาคัญ
ดังนั้นการพัฒนาสังคมหรือเปลี่ยนแปลงประเทศย่อมขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของ
4