Page 17 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 17

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559

                 แนวทางที่ทุกส่วนในโลกจะต้องผนึกกำาลังให้เป็นกระแสหลัก โดยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทาง
                 ด้านโลกทัศน์ของผู้นำาทุกระดับ (ทั้งภูมิภาค ชาติ ชุมชน) ไปเป็น แบบพหุนิยมองค์รวม (Holis-
                 tic Pluralism) ด้วย มิใช่เอกนิยมองค์รวม ซึ่งหมายรวมถึงขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน
                 ในระดับรากหญ้าในประเทศโลกที่สามเข้าไปด้วย ที่เรียกร้องในเรื่องของการเคารพคุณค่าและ
                 วัฒนธรรมพื้นบ้าน/พื้นเมือง วัฒนธรรมชุมชน/ท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงการจัดการ
                 ทรัพยากรธรรมชาติแบบพื้นบ้าน ชุมชน ท้องถิ่น ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่สำาคัญยิ่ง ไม่ใช่แค่บริบท
                 การเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงบริบทของสังคมและวัฒนธรรม การเน้นในเรื่องวัฒนธรรม ประชาชน
                 ชุมชน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่แค่เน้นแต่เศรษฐกิจ หรือการมุ่งให้ความสำาคัญของกระบวนการ
                 เคลื่อนไหวของประชาชนในระดับรากหญ้า สามารถสลายเขตกั้นการแบ่งแยกระหว่าง เมือง-
                 ชนบท ศูนย์กลาง-บริวาร พัฒนา-ด้อยพัฒนา สมัยเก่า-สมัยใหม่ เป็นต้น หากวัฒนธรรมชุมชน
                 ท้องถิ่นได้รับการยอมรับให้มีฐานะเท่ากับวัฒนธรรมเมืองแล้ว ความเหนือกว่าของเมืองที่มีต่อ
                 ชนบทในการรับรู้ของคนทั่วไปจะเริ่มสั่นคลอน เกิดสังคมรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมโดยปริยาย การ
                 ให้ความสำาคัญทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ ถือเป็นความพยายามในการต่อต้านกระ
                 แสโลกาภิวัตน์แบบหนึ่งหรือปฏิเสธการพัฒนากระแสหลักนั่นเอง อาจเรียกขานกันในวาทกรรม
                 วิชาการปัจจุบันว่า “วิถีประชา” หรือ “ประชานุวัตน์” นั่นเอง (บัวพันธ์ พรหมพักพิง,2556)


                 ตำรำงที่1
                 สรุปการเปรียบเทียบระหว่างการพัฒนาทางเลือกและการพัฒนากระแสหลัก

                          กำรพัฒนำกระแสหลัก                       กำรพัฒนำทำงเลือก
                 •  ปฏิบัติต่อประชาชนในฐานะที่เป็นวัตถุหรือ • ปฏิบัติต่อประชาชนในฐานะที่เป็นผู้กระทำา
                    ผู้ถูกกระทำา(กรรม) ทางการพัฒนา        (ประธาน) ในการพัฒนา

                 •  ใช้วิธีการและทฤษฎีที่มาจากข้างนอก   •  ใช้วิธีและวิธีการที่มาจากข้างใน

                 •  ใช้วิธีการแบบบนลงสู่ล่าง (Top-Down)  •  ใช้วิธีการแบบมีส่วนร่วม
                 •  สนใจในเป้าหมายปลายทางของการพัฒนา •  ให้ความสำาคัญทั้งวิธีการและเป้าหมาย
                                                           ปลายทางของการพัฒนา

                 •  ให้ความสำาคัญกับการปฏิบัติ          •  ให้ความสำาคัญกับประเด็นทางจริยธรรม
                    (practicalities)                       ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ

                 •  ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่                •  ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเทคโนโลยี
                                                           ขั้นกลาง
                 •  ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ             •  ไม่รับการสนับสนุนจากรัฐหรือบางครั้ง
                                                           ต่อต้านรัฐ






                                                                                           9
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22