Page 18 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 18

Vol.1 No.3 September - December 2016
                Journal of MCU Social Development

                 •  เพิ่มบทบาทตลาดในชีวิตประชาชน        •  บางครั้งพยายามลดบทบาทตนเองและ
                                                           ส่งเสริมการพึ่งตนเอง

                 •  รวมอำานาจเข้าศูนย์กลาง              •  กระจายอำานาจ

                 •  เน้นประจักษ์นิยม (วัตถุนิยม)        •  เน้นวัฒนธรรม


                         สิ่งสำาคัญจำาเป็นต่อจากนี้ไปเป็นการรื้อฟื้นภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง
                 เพราะภูมิปัญญาเป็นความรู้องค์รวมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้ ปัจจุบันนี้เราพยายาม
                 ใช้ “ภูมิปัญญาไทย” ในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการพัฒนาทางเลือกที่แตกต่างไปจากการพัฒนา
                 ตามแนวตะวันตก ดังนั้นสิ่งสำาคัญในการใช้ภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบัน คือ
                        1. ความรู้ความสามารถในการดำารงชีพและพัฒนาอารยธรรมของชาวไทยตั้งแต่พันปี
                 ที่แล้วในยุคก่อนที่เราจะรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเสียอีก เพราะคนไทยมีภูมิปัญญาในการ
                 รู้จักทำามาหากินแบบเกษตรเพื่อยังชีพอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมทางสังคม
                 และการผลิตแบบเกษตรพึ่งตนเองนี้ทำาเพื่อพอกินมากกว่าเพื่อหวังขายให้รำ่ารวย จึงไม่ได้ทำาลาย
                 ธรรมชาติหรือกดขี่แรงงานคนมากเท่ากับการผลิตยุคทุนนิยมที่เน้นการผลิตเพื่อขายหากำาไร
                        2. คนไทยสมัยก่อนเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามา ไม่ได้ยึดความเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ส่วน
                 ตัวอย่างเคร่งครัด แต่มองเรื่องการแบ่งปัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การใจกว้าง  ความยุติธรรม เป็น
                 เรื่องสำาคัญ เป็นการแลกเปลี่ยนแบบใช้สอย ฉันท์เพื่อน ญาติมิตร มีความเป็นกันเอง และปฏิบัติ
                 ต่อกันแบบมีนำ้าจิตนำ้าใจ ถ้ามองในแง่การพัฒนาทางสังคม ก็ถือได้ว่า คนสมัยก่อนมีการพัฒนา
                 ทางสังคมทีมีคุณภาพมากกว่าคนยุคปัจจุบัน
                        3. คนไทยสมัยก่อนการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตก รู้จักใช้เทคโนโลยีการ
                 ผลิตและการบริโภคแบบเรียบง่าย แต่มีปัญญา เน้นความกลมกลืน ความสมดุลของธรรมชาติ มอง
                 ว่าชีวิตเป็นองค์รวมของการทำามาหากิน หาความสนุกจากการละเล่นและศิลปวัฒนธรรม หากมอง
                 ในแง่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาอย่างใจกว้างแล้ว จะเห็นว่าคนสมัยก่อนอยู่กับธรรมชาติอย่าง
                 อนุรักษ์ทรัพยากรได้ดีกว่าคนในยุคปัจจุบัน คือพวกเขารู้จักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable)
                 ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้ศัพท์คำานี้กัน ขณะที่ความรู้ใหม่ๆแบบตะวันตกที่คนไทยพยายามเรียน
                 รู้กันกันอยู่นี้ กลายเป็นเครื่องมือให้คนกลุ่มน้อยที่รำ่ารวยใช้เอาเปรียบคนส่วนใหญ่และทำาลาย
                 ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า (วิทยากร เชียงกูล,2550)
                        ดังนั้นเราน่าจะกลับไปศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคมและ
                 วัฒนธรรม เช่น เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ที่เน้นการบริโภคแบบพอประมาณ
                 และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกษตรหรือสาธารณสุขทางเลือก เป็นต้น แล้วนำามาประยุกต์ใช้ในการ
                 พัฒนาสังคมไทยอย่างจริงจัง เพราะน่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาทางเลือกที่ดีกว่าการพัฒนา
                 กระแสหลักในโลกทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตก ที่ทิ้งปัญหาทั้งการเมือง และสังคมไว้เบื้อง
                 หลัง สร้างทั้งความไม่สมดุลและความขัดแย้งระหว่างคนรวย คนจนเพิ่มขึ้น เอารัดเอาเปรียบ
                 ทุจริตฉ้อฉล ปัญหายาเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นการพัฒนาภายใต้การส่งเสริมใช้หลักศาสนา


                  10
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23