Page 19 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 19

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559

                 โดยเฉพาะศีล5 เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำามาประยุกต์ใช้กับสังคมไทยได้ ดังกรณีที่พระ
                 อาจารย์สุบิณ ปณีโต ผู้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ จังหวัดตราด ใช้ศีล5เป็นกลไกในการควบคุม
                 สมาชิกกลุ่ม คือถ้าหากว่าสมาชิกคนใดมีศีล5ก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษเพราะเชื่อว่าสมาชิก
                 คนนั้นจะมีความจริงใจและมีความสามารถมากพอที่จะรับผิดชอบตนเองได้  หากว่าสมาชิกคนใด
                 ที่ขอยื่นกู้จากกลุ่มมีศีล5ครบถ้วน ก็จะได้รับการพิจารณาเงินกู้แบบไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น นี่เป็น
                 ตัวอย่างการเลือกใช้กระบวนการพัฒนาทางเลือกให้เหมาะสมกับบริบทความเชื่อและภูมิปัญญา
                 ไทย (โกวิทย์ พวงงาม,2556)
                        อันที่จริงนั้นการพัฒนาแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยมากที่สุดควรจะเป็น
                 แนว “พุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง” แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นได้ถูกนำาเสนอในฐานะ
                 “ทางเลือก” ที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วกับการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลักมานานแล้ว พยายาม
                 ส่งเสริมให้ผู้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ให้ความสำาคัญกับหลักการ
                 พัฒนาบนจารีตศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย คำาว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”  หมาย
                 ถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้น
                 กำาไรสุทธิหรือความรำ่ารวยเป็นเป้าหมายสูงสุด เป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                 รัชกาลที่9ของเราทรงดำาริขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจให้กับสังคมไทย เน้นให้
                 คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูป
                 อุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำารงอยู่
                 ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                 เป็นต้น
                        วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ  ความสงบสุขของผู้คนใน
                 สังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำาคัญต้องไม่ทำาตนและผู้อื่นเดือน
                 ร้อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมคำาสอนทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยหลายประการ ได้แก่
                        1. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง (อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)
                        2. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)
                        3. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมำ ธนำ)
                        4. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำาเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)
                        5. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)
                        6. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ)
                        กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธ
                 ศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ ที่มุ่งให้มนุษย์จำากัด หรือ
                 ความอยาก หรือความต้องการของตนเอง แทนการกระตุ้นตัณหาหรือความอยาก เพื่อให้เกิดการ
                 บริโภคมากขึ้น (บริโภคนิยม) เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็นว่าความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีขีด
                 จำากัด แต่ขณะเดียวกันทรัพยากรมีขีดจำากัด เมื่อไม่ประหยัด สิ่งเหล่านั้นก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด
                 การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องหันมาแข้ไขที่ตนเองก่อน จำากัดความอยาก ความ
                 ต้องการ ให้รู้จักพอดี ไม่บริโภคเกินความพอดี หรือตกเป็นทาสของวัตถุ เมื่อเราปฏิบัติได้ดังข้อที่



                                                                                           11
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24