Page 14 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 14

Vol.1 No.3 September - December 2016
                Journal of MCU Social Development

                 ศึกษาและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของประชาชนควบคู่ไปกับการพัฒนาทางอารมณ์ (EQ) และ
                 จิตสำานึกเพื่อส่วนรวม คือฉลาดและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จึงจะเป็นความรู้คู่กับจิตสำานึกที่ช่วย
                 ให้ชุมชนเข้มแข็งได้
                        2. ประชาชนมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง หรือสามารถ เช่า ซื้อ ได้โดยต้นทุนไม่สูง
                 นัก เนื่องจากปัจจัยการผลิตเป็นพื้นฐานที่สำาคัญในการประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง พัฒนา
                 สังคม การกระจายปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินให้เป็นธรรม จะเป็นเงื่อนไขสำาคัญในการกระจาย
                 รายได้ที่เป็นธรรม สร้างสังคมยั่งยืน
                        3. ชุมชนมีทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค สาธารณสุขและการจัดตั้งองค์กร
                 ชุมชน เน้นรูปแบบสังคมที่ให้ประชาชนทำาอะไรร่วมกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของท้องถิ่น สภา
                 องค์กรชุมชนเป็นองค์กรของประชาชนที่ปลอดจากอิทธิพลของการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับ
                 ชาติ พยายามไม่ให้ประชาชนเป็นลูกไล่ของนายทุน นักการเมือง พรรคการเมืองต่างๆ แต่เป็นเวที
                 ที่ประชาชนจะกำาหนดนโยบายจากฐานล่างขึ้นไป (อเนก เหล่าธรรมทัศน์,2553) เพราะการพึ่งพา
                 กันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน จะทำาให้การทำางานพัฒนาได้ผลดียิ่งขึ้น
                        4. มีการกระจายทรัพย์สินและรายได้ การศึกษา ฐานะทางสังคม ในหมู่สมาชิกของชุมชน
                 อย่างเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดอำานาจบาตรใหญ่ มีความเป็นเครือญาติ หรือความสามัคคี ช่วย
                 เหลือกัน
                        5. เป็นชุมชนที่สมาชิกมีความตื่นตัวเป็นพลเมืองที่ดี ดูแลช่วยเหลือกัน ไม่ให้คุณภาพ
                 ชีวิตของคนในสังคมตกตำ่าลง ร่วมกันรับผิดชอบในทุกๆการกระทำาของชุมชน
                        ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ประชาชน คน ชุมชน เป็นปัจจัยสำาคัญที่ช่วยขับเคลื่อน
                 กระบวนการการพัฒนา และบรรเทาแก้ไขปัญหาสืบเนื่องอื่นๆที่เกิดมาจากการพัฒนาสังคมตาม
                 แนวตะวันตกได้ ความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา นอกจากจะทำาลายสิ่งแวดล้อม
                 ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้าง
                 ปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล เนื่องจากรัฐบาลไม่
                 รับผิดชอบ ไม่ฉับไวต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน ระบบราชการมีคอรัปชันสูง
                 ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความโปร่งใส ต้องเข้าใจว่าทางออกในการพัฒนาสังคมไทยที่เหมาะสมต้อง
                 เป็นการส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งต้องเป็นชุมชนที่สามารถจัดการและพึ่งพาตนเองได้ โดย
                 เฉพาะการทำาให้ชุมชนและคนในชุมชนต้องเปลี่ยนกระบวนการคิด (Paradigm Shift) ที่เน้นการ
                 ให้ความสำาคัญกับกระบวนการคิด การเรียนรู้ จำาเป็นต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นเจ้าของ และการ
                 ฝึกหัดคิดร่วมกันในเชิงบวก (Positive Thinking) เพื่อสร้างท้องถิ่นเข้มแข็ง ในทัศนะส่วนตัวคิด
                 ว่า “การสร้างจิตสำานึกชุมชน” เป็นสิ่งจำาเป็นมาก การที่ชุมชนจะเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นนั้น ไม่ใช่
                 ว่าจะเกิดจากผู้นำาชุมชนเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ถึงแม้ผู้นำาจะเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่สิ่งที่สำาคัญยิ่งกว่า
                 ต้องเป็นความร่วมมือ การที่สมาชิกในชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกัน ย่อมมีสำานึกร่วมของความเป็น
                 ชุมชน ที่พยายามจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมหรือชุมชนของตนเอง ซึ่งจำาเป็นต้องปลดแอก
                 ทางความคิดความคิด (โกวิทย์ พวงงาม,2556) ให้ประชาชนได้ตัดสินใจบนหลักการของความ
                 เป็นอิสระที่ครอบคลุมทุกมิติของสังคมภายใต้ประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตน


                  6
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19