Page 15 - JMSD Vol.1 No.3 -2016
P. 15

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559

                 ภัยพิบัติทางชีวิตของประชาชนในประเทศโลกที่3ทุกวันนี้ อันเกิดจากผลของการเดินตามแนวทาง
                 การพัฒนาแบบตะวันตกจนสุดกู่ จึงควรปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเสียใหม่ โดยจะต้องยกเลิก
                 การพัฒนาซึ่งรัฐเป็นผู้ชี้นำาและออกคำาสั่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ในลักษณะ รัฐประชาชาติ (Nation
                 State) โดยปรับเปลี่ยนเป็น ประชารัฐ (Civil State) ซึ่งเป็น “ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่าง
                 รัฐกับประชาชนในลักษณะที่เป็นประชาสังคม” ในลักษณะการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความริเริ่มของ
                 ประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยทุกฝ่ายในสังคมต่างให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้
                 ชิดทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมมือกันในทุกเรื่องที่เป็นสาธารณะ นั่นเอง และรวม
                 ถึง การจัดการตนเองของประชาชน (Self-Government) ให้มองเห็นว่าบ้านเมืองเป็นของร่วม
                 กัน จัดการปัญหาสาธารณะด้วยตนเองตามศักยภาพของพลเมือง รวมถึงภาครัฐต้องยอมรับและ
                 เคารพในศักยภาพของประชาชน รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำา
                 ร่วมตรวจสอบนโยบาย การปฏิบัติงานต่างๆ ยำ้าความสัมพันธ์จากล่างขึ้นบน (Bottom-Up) นำาโดย
                 สังคม ท้องถิ่น และชุมชน (อเนก เหล่าธรรมทัศน์,2557) โดยที่รัฐหรือระบบบริหารราชการต้อง
                 สนับสนุนการพัฒนาการมีส่วนร่วมในทุกรูปแบบแก่ประชาชน อีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการ
                 พัฒนาสังคมจากฐานราก คือ การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self-help) ต้องพัฒนาให้ประชาชน
                 ในท้องถิ่นพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยสนับสนุน ภายใต้ความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่
                 เปิดกว้าง ให้โอกาสประชาชนได้แสดงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ด้วยวิธีการให้การศึกษาแก่
                 ประชาชน การศึกษาภาคประชาชนนี้ สามารถแบ่งรูปแบบเป็นการศึกษาภาคชีวิต (Life-Long
                 Learning) ถือว่าเป็นการพัฒนาภาคชีวิตแก่ประชาชนเพื่อนำาไปสู่การพัฒนาสังคม ท้องถิ่นที่แท้
                 จริง ให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดไปตราบเท่าที่บุคคลยังดำารงชีวิตอยู่ในชุมชน กับการศึกษาภาค
                 พลเมือง (Civic Education) ที่ปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจ มีความรู้และตระหนักในหน้าที่พลเมือง
                 ปรับค่านิยม ปรับความเชื่อ และบุคลิกลักษณะให้ประชาชนมีสำานึกของความเป็นพลเมือง มีจิตใจ
                 ใฝ่รู้แก้ไขปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนั้นจะนำาไปสู่ “ประชาชนที่มีคุณภาพ” คนจะกล้าคิด กล้า
                 แสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามากขึ้น


                 ทำงเลือกในกำรพัฒนำ
                        ประสบการณ์การพัฒนาสังคมที่ผ่านมาในอดีตเน้นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจ
                 แบบทุนนิยม ด้วยความเชื่อที่ว่าทุนนิยมนี้จะพัดพาความกินดีอยู่ดีมาสู่ประชาชน ซึ่งการพัฒนา
                 ในรูปแบบนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดว่าเชื่อถือได้หรือไม่ จนเกิดกลายเป็นกระแสต่อต้าน
                 การพัฒนาขึ้นมาว่าอันที่จริงนั้นการดำาเนินแนวทางทุนนิยมสุดขั้ว ได้นำาความทุกข์เข็ญมาสู่ผู้คน
                 จำานวนมาก และเป็นสิ่งที่ควรจะประณามต่อต้านเป็นอย่างยิ่ง สภาพดังกล่าวสามารถอนุมานได้
                 ว่าการพัฒนาสังคมโดยเน้นความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนี้นั้น ได้นำาไปสู่ปัญหาในระดับโครงสร้างที่
                 มีขอบเขตกว้างขวางมากจนยากเกินจะควบคุม มองในระดับแนวคิดคือ การพัฒนาสังคมภาย
                 ใต้การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในตัวของมันเองนั้น คือ ปัญหา ซึ่งจำาเป็นต้องหาทางออก
                 ด้วยการปฏิเสธหรือลดการพัฒนา (De-Development) นั่นเอง (บัวพันธ์ พรหมพักพิง,2556)
                 เพราะนักทฤษฎีกลุ่มทฤษฎีพึ่งพาและทฤษฎีด้อยพัฒนาเสนอไว้ว่า การเจริญเติบโตของประเทศ



                                                                                           7
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20