Page 52 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 52

การเฝ้าระวังป้องกันควบคุม


                                                โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์









               การควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์
                        การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในภาวะปกติ

                        กรมปศุสัตว์ได้ก�าหนดแนวทางการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังนี้
                        1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์

                          1.1  รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าประจ�าปี
                               -  ด�าเนินการปีละ 1 ครั้ง ระยะเวลาแต่ละครั้งประมาณ 2 เดือน
                               -  ด�าเนินการร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมการปกครองส่วน

                                 ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                          1.2  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านอกช่วงรณรงค์

                               -  ออกหน่วยบริการประชาชนร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยจังหวัดเคลื่อนที่
                                 หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ หน่วยคลินิกเคลื่อนที่ เป็นต้น
                               -  พื้นที่เป้าหมายในการด�าเนินการ เช่น พื้นที่ที่เคยเกิดโรค วัด แหล่งชุมชน ตลาด แหล่งท่อง

                                 เที่ยว โรงเรียน สถานที่ราชการ เป็นต้น
                        2. ควบคุมและลดจ�านวนสัตว์พาหะน�าโรคพิษสุนัขบ้า

                          -  ประกอบด้วยกิจกรรมผ่าตัด ท�าหมัน และการฉีดยาคุมก�าเนิด
                          -  ด�าเนินการร่วมกับการออกหน่วยบริการประชาชน เช่น หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ หน่วยคลินิก
                             เกษตรเคลื่อนที่ และหน่วยจังหวัดเคลื่อนที่

                          -  ส�านักควบคุมป้องกันและบ�าบัดโรคสัตว์สนับสนุนหน่วยผ่าตัดท�าหมันเคลื่อนที่ ด�าเนินการร่วม
                             กับแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง

                          -  พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่ที่เคยเกิดโรค วัด แหล่งชุมชน ตลาด แหล่งท่องเที่ยว โรงเรียน สถาน
                             ที่ราชการ เป็นต้น



                        การเฝ้าระวังโรค
                        1. การเฝ้าระวังทางอาการ โดยเจ้าหน้าที่เครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ท�าการตรวจสอบและสังเกต

               อาการสัตว์ในพื้นที่ รวมถึงก�าหนดแนวทางการแจ้งโรคในกรณีที่พบสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
                        2. การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น สัตว์ที่ิ
               ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ สัตว์ที่ตายจากการถูกรถชน เป็นต้น




                                                                                   แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม  47
                                                                                         โรคพิษสุนัขบ้า
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57