Page 54 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 54

8.  เฝ้าระวังโรคทางอาการในพื้นที่รอบจุดเกิดโรคเป็นอย่างน้อย 6 เดือน
                        9.  ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนทราบทุกช่องทาง เช่น หอกระจายเสียง เสียงตามสาย ป้าย

               ประชาสัมพันธ์ สติ๊กเกอร์ คู่มือ และแผ่นพับ
                        10. ประสานการด�าเนินงานควบคุมโรคระหว่างหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และมีระบบการเฝ้าระวังโรค
               หรือการรับแจ้งโรคจากประชาชน

                        11. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วยกรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค กรม
               ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                           -  เฝ้าระวังทางอาการรอบจุดเกิดโรคอย่างน้อย 3 กิโลเมตร* เป็นเวลา 6 เดือน โดยเจ้าหน้าที่เครือ
                             ข่ายเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มเติมให้ท�าการ
                             ควบคุมโรคและเก็บตัวอย่างส่งตรวจ

                           -  เฝ้าระวังทางอาการในสัตว์กลุ่มสัมผัสกับสัตว์ป่วยที่ไม่สามารถท�าลายได้ โดยด�าเนินการควบคู่
                             ไปกับการฉีดวัคซีนตามโปรแกรมฉีด 4 เข็ม ห่างกันเข็มละ 4 วัน ซึ่งให้ท�าการเฝ้าระวังโรคเป็น
                             เวลา 6 เดือน หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าให้ท�าการควบคุมโรค และเก็บ

                             ตัวอย่างส่งตรวจยืนยันต่อไป
                           *  ทั้งนี้ให้พิจารณาตามผลการสอบสวนโรค

                        การติดตามเฝ้าระวังโรค
                        เมื่อมีผู้ถูกสัตว์ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน มารับการบริการที่โรงพยาบาล ต้องปฏิบัติ

               ดังนี้
                        1.  แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เกิดเหตุ สอบถามหรือช่วยกันสืบหาตัวผู้ที่ถูกสัตว์ตัวเดียวกันกัด
               หรือข่วนในเวลาใกล้เคียงกัน ให้มารับบริการรักษา ป้องกันโดยเร็วด้วย

                        2.  เฝ้าระวังสัตว์ในพื้นที่นั้นๆ หากพบว่ามีสัตว์ตัวอื่นที่กัด คลุกคลีใกล้ชิด หรือถูกสัตว์นี้กัด ต้องแจ้ง
               ปศุสัตว์หรือสัตวแพทย์ในพื้นที่เพื่อควบคุมโดยเร็ว

                        จังหวัดควรจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์เป็นศูนย์กลางในการรายงานข่าวผู้ถูกกัดทางวิทยุท้องถิ่นให้
               ประชาชนทราบทั่วกัน และจะต้องเน้นให้ผู้ถูกสุนัขกัดมารับการฉีดวัคซีนให้ตรงตามนัดหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               ใน 3 ครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้สัมผัสโรคเอง

                        หมายเหตุ การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนที่สัมผัสโรคให้ดูรายละเอียดการปฏิบัติในหัวข้อเรื่องการ
               ดูแลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าหรือสงสัยว่าสัมผัส

























                                                                                   แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม  49
                                                                                         โรคพิษสุนัขบ้า
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59