Page 53 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 53

3. การด�าเนินการเฝ้าระวังโรคในภาวะปกติ มีดังนี้
                          -  ส�ารวจและรวบรวมข้อมูลจ�านวนสัตว์ในพื้นที่ และมีการปรับปรุงข้อมูลอย่างสม�่าเสมอ

                          -  สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ก�านัน ผู้น�าชุมชน องค์กรปกครองส่วน
                             ท้องถิ่น อาสาปศุสัตว์ ปศุสัตว์ต�าบล อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อค้นหาสัตว์ป่วยและรับแจ้งการ
                             เกิดโรคจากเจ้าของสัตว์หรือผู้พบเห็นสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

                          -  ฝึกอบรมและชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่เครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
                             เกี่ยวกับแนวทางการเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค การป้องกันและควบคุมโรค
                          -  เก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ เมื่อพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า โดยด�าเนิน

                             การส่งตรวจภายใน 24 ชั่วโมง

                        การด�าเนินการเฝ้าระวังโรค เมื่อมีรายงานการพบโรคในสัตว์
                        เมื่อทราบผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการว่าพบโรคพิษสุนัขบ้าในตัวอย่างสัตว์ที่มาจากพื้นที่ใด ส�านักงาน

               ปศุสัตว์จังหวัดผู้รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว จะประสานการด�าเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอบสวนโรค
               และควบคุมโรคทันที โดยมีแนวทางการด�าเนินงาน ดังนี้
                        1. ด�าเนินการภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ. โรคพิษ
               สุนัขบ้า พ.ศ. 2535

                        2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านปศุสัตว์ สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วย
               งานอื่น เพื่อด�าเนินการควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

                        3. ประกาศเขตสงสัยโรคระบาดชั่วคราว ตาม พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้
               อ�านาจในการควบคุมโรค เช่น การท�าลายสัตว์ที่สงสัยว่าได้รับเชื้อ การควบคุมการเคลื่อนสัตว์รอบจุดเกิดโรค
                        4. สอบสวนหาสาเหตุของโรค พื้นที่เสี่ยง สัตว์กลุ่มเสี่ยง และสัตว์ที่สัมผัสโรค เพื่อน�าผลการสอบสวน

               โรคมาใช้ประกอบการควบคุมโรค
                        5. ท�าลายสัตว์ที่ถูกกัดหรือสัตว์ที่สัมผัสน�้าลายสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
                        6. กรณีที่ไม่สามารถท�าลายสัตว์ตามข้อ 5 ได้ ให้ด�าเนินการดังนี้

                           -  กรณีที่ 1 ถ้าเป็นสุนัขที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วมากกว่า 1 เข็ม และเข็มสุดท้ายฉีดภายในระยะเวลา
                             1 ปีที่ผ่านมา ให้ฉีดกระตุ้นซ�้า 1 เข็ม และเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 6 เดือน
                           -  กรณีที่ 2 ถ้าเป็นสุนัขที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน หากสามารถท�าลายได้ก็ให้ด�าเนินการ

                             ทันที ตามความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน แต่ถ้าไม่สามารถท�าได้ให้ฉีดวัคซีน
                             ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 4 เข็ม ห่างกันเข็มละ 4 วัน และต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดอย่าง
                             น้อย 6 เดือน หากสุนัขมีอาการผิดปกติสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าให้รีบแจ้งปศุสัตว์ทันที

                        7. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Ring Vaccination) ให้สุนัข/แมวในพื้นที่รัศมี 3 กิโลเมตรรอบจุด
               เกิดโรค และเฝ้าระวังทางอาการเป็นเวลา 6 เดือน โดยแนวทางการท�า Ring Vaccination มีดังนี้
                           -  ส�ารวจจ�านวนสุนัข-แมว ที่จะต้องฉีดวัคซีนในพื้นที่รอบจุดเกิดโรค

                           -  จัดหาและเตรียมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ปศุสัตว์ องค์กรปกครอง
                             ส่วนท้องถิ่น (อบต., เทศบาล) สาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ให้ได้จ�านวนครอบคลุม

                             กับจ�านวนสัตว์ในพื้นที่
                           -  ฉีดวัคซีนให้กับสุนัข-แมวให้ครอบคลุมจ�านวนสุนัข-แมวทั้งหมด หรือให้ได้อย่างน้อย 80% ของ
                             จ�านวนสัตว์ทั้งหมด


         48  แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม
               โรคพิษสุนัขบ้า
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58