Page 19 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 19
แบงค์สยามกัมมาจล ท.จ.ก.
ในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังจากไทยเปิดประตูกับประเทศตะวันตกแล้ว ก็มีธนาคารของชาวตะวันตกตาม
เข้ามาเปิดบริการลูกค้าของตนในกรุงเทพฯ เช่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ด ธนาคารอิน
โดจีน นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2431 ยังมีชาวอังกฤษคบคิดกันจะตั้ง “แบงก์หลวงกรุงสยาม” ก าหนดทุนจด
ทะเบียน 1 ล้านปอนด์สเตอริงโดยให้คนไทยซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ท าท่าว่าจะยึดการคลังของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจ้าอยู่หัว และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งตามเสด็จประพาสยุโรป ดูงานการธนาคารมาเป็นเวลา 9 เดือน จึง
ทรงด าริตรงกันที่จะตั้งสถาบันการเงินของไทยขึ้นบ้าง
แม้จะถูกขัดขวางอยู่มาก แต่ในที่สุดสถาบันการเงินแห่งแรกของคนไทยก็แอบเปิดขึ้นได้ในวันที่ 4
ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในชื่อ “บุคคลัภย์” ให้มีความหมายเป็น “Book Club” มีเงินทุนเพียง 30,000 บาท
ใช้ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ที่บ้านหม้อเป็นส านักงานแห่งแรก หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็น
ล าดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอ านาจ
พิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จ ากัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ
ตั้งแต่แต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449
บริษัทแบงก์สยามกัมมาจลทุนจ ากัด เปิดด าเนินการในอาคารที่ท าการของบุคคลัภย์เดิม ที่ต าบลบ้าน
หม้อ ในปี พ.ศ. 2449 โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้จัดการฝ่ายในประเทศ และนาย เอฟ คิเลียน ตัวแทนผู้
ถือหุ้นชาวต่างประเทศสัญชาติเยอรมันเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ในการเปิดด าเนินกิจการธนาคารขึ้นนี้
คณะผู้จัดตั้งได้ขอพระราชทานตราอาร์มแผ่นดินมาเป็นตราประจ าธนาคารมาตั้งแต่ต้น
การด าเนินธุรกิจนั้น แบงก์สยามกัมมาจลมีการรับฝากเงินตามปกติทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ แต่ที่
พิเศษได้แก่การเสนอให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีแก่ลูกค้าที่มีเงินเหลือในบัญชีเดินสะพัด นับว่าลูกค้าจะ
ได้ประโยชน์จากเงินของตนที่เหลือจากการหักบัญชีด้วยเช็คอย่างเต็มที่ บริการด้านนี้ได้สร้างความนิยมในหมู่
9-18