Page 14 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 14

หน้าบัน สัญลักษณ์แห่งมหากษัตริย์




























                       สถาปัตยกรรมของไทยนั้น ล้วนประณีตศิลป์ วิจิตร งดงาม และอาจเป็นสัญลักษณ์อันส าคัญยิ่งดังเช่น

               หน้าบัน



                           หน้าบัน   คือ ฝาผนังส่วนที่ปิดทับหน้าจั่วของอาคารในด้านสกัด (ด้านหัว-ท้ายอาคาร)    ใน

               หลังคาทรงจั่วแบบไทย มักจะเป็นรูปสามเหลี่ยม   หรือในงานสถาปัตยกรรมตะวันตกมักจะเป็นรูปโค้ง หรือ

               โค้งแหลมตามรูปทรงของหลังคา    ต าแหน่งของหน้าบันจะอยู่สูงเหนือแนวประตูและหน้าต่าง โดยอยู่ระหว่าง

               อเส (หรือทับหลัง) และจันทัน


                       เนื่องจากเป็นส่วนที่มองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก    จึงนิยมตกแต่งประดับลวดลายให้สวยงามตาม

               ยุคสมัย  และตามวัฒนธรรมความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น  มีทั้งแบบทึบและแบบมีช่องโปร่ง โดยวัสดุที่ใช้เป็นได้

               ทั้งอิฐ  ไม้  เหล็ก  หินแกะสลัก  หรือปูนปั้นตกแต่ง  ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ได้แล้ว  ยังมีผลในการช่วย

               ป้องกันแดด  กันฝนสาด  กันนกและแมลงไม่ให้เข้าไปภายในอาคารอีกด้วย


                       ค าว่า หน้าบัน มักใช้กับอาคารศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร พระอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ

               รวมทั้งอาคารอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์   แต่ว่าหากเป็นอาคารบ้านเรือนทั่วไปจะเรียกกันว่า

               หน้าจั่ว มากกว่า


                       หน้าบัน จะมีรูปสลักตกแต่งหรือเครื่องตกแต่งอื่นๆ ปรากฏในพระที่นั่งองค์ส าคัญในแต่ละรัชกาล มัก


               ประดับด้วยสัญลักษณ์ที่สื่อถึงพระมหากษัตริย์ เช่น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
               แสดงให้เห็นว่าเป็นที่ประทับของพระนารายณ์ อันหมายถึงพระมหากษัตริย์ บางครั้งเป็นภาพสัญลักษณ์อื่นๆ


               เช่น รูปเทวดาประจ าทิศประทับบนพระแท่น



                                                          5-13
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19