Page 9 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 9

ด้านกวีนิพนธ์


                       ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดี

               สมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคํากล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด"

               กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว  ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  (รัชกาลที่  3)  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

               กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์
               ที่เป็นบทกลอนมากมาย  ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก  มีหลายเรื่องที่มีอยู่

               เดิมและทรงนํามาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่อง

               เดิมมีความยาวมาก  ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ  เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสร

               ในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรําที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทํานองกลอนและกระบวนการ

               เล่นทั้งร้องและรํา นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์
               ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขน

               อีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดง

               มาจนทุกวันนี้


                       ด้านประติมากรรม


                       นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยัง

               ได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก  พระประธานในพระอุโบสถ

               วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร  อันเป็นพระพุทธรูปที่สําคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง  ซึ่ง
               ลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่  2  นี้เอง  ส่วน

               ด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก   และ

               พระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียม

               ได้  นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว  ยังทรงแกะสลักบานประตู

               พระวิหารพระศรีศากยมุนี  วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร  คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตร
               ภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทําจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยา

               รักน้อยไว้ด้วย
















                                                           2-8
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14