Page 153 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 153
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาอ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออก และตะวันตก
3. ชื่อการทดลอง การคัดเลือกครั้งที่ 1 อ้อยชุดปี 2557
Sugarcane First Selection Series 2014
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ปิยธิดา อินทร์สุข อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข 1/
มานิตย์ สุขนิมิตร ศรัณย์รัตน์ สุวรรณพงษ์ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
ในการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีผลผลิตสูง มีค่าบริกซ์สูง
แตกกอดี สามารถปรับตัวได้ดีในเขตชลประทาน โดยนำลูกอ้อยที่ได้ผสมพันธุ์ในปี 2557 ปลูกที่ศูนย์วิจัย
และพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จำนวน 6,355 ต้น พื้นที่ 4 ไร่ ปลูกเป็นหลุมๆ ละ 1 ต้น โดยมีระยะห่าง
ระหว่างร่อง 1.5 เมตร มีระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ถึง 2 มิถุนายน
2558 ทำการคัดเลือกการจากน้ำหนักผลผลิตต่อกอ และลักษณะทางการเกษตรที่ดี ได้แก่ จำนวนลำต่อกอ
ขนาดลำ ความสูง และค่าความหวาน (brix) ไส้กลางเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ขนที่กาบใบน้อยหรือไม่มี และ
ไม่แสดงอาการของโรคแส้ดำ และใบขาว ทำการคัดเลือกอ้อยในเดือนมีนาคม ได้โคลนอ้อยที่มีแนวโน้ม
ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดี จำนวน 223 โคลน โดยมีจำนวนลำอยู่ระหว่าง 4-17 ลำต่อกอ
ค่าความหวานในแปลงทดลอง (brix) อยู่ระหว่าง 14.00-24.20 องศาบริกซ์ ซึ่งโคลนอ้อยที่คัดเลือกได้นั้น
จะนำไปปลูกในการคัดเลือกครั้งที่ 2 ต่อไป
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
สามารถคัดเลือกอ้อยที่มีผลผลิตและความหวานสูง และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดี เพื่อใช้ในการ
รับรองพันธุ์อ้อยใหม่ต่อไป
___________________________________________
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
1/
86