Page 148 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 148
ความยาวลำและปริมาณเซลลูโลสต่ำกว่าพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่อ้อยลูกผสมสายพันธุ์ TPJ04-4-351
มีจำนวนลำต่อไร่ ปริมาณน้ำคั้นและปริมาณเซลลูโลสสูงกว่าแต่กลับมีปริมาณโปรตีนต่ำกว่าสายพันธุ์
TPJ04-4-851 และขอนแก่น 3
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาด้านพันธุ์จะเห็นได้ว่าการนำน้ำคั้นไปหมักเป็นเอทานอลโดยตรงนั้น อ้อยพันธุ์
ขอนแก่น 3 มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลที่สูงกว่าอ้อยลูกผสมอ้อยป่าอีก 2 พันธุ์ ในขณะที่อายุ
การเก็บเกี่ยวนั้นควรเก็บเกี่ยวอ้อยทั้ง 3 พันธุ์ เมื่ออายุ 12 เดือน เนื่องจากจะให้ปริมาณน้ำตาลรวมสูง
เมื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการหมักเอทานอลจะให้ปริมาณเอทานอลสูง สำหรับชานอ้อยในการศึกษานี้
มีส่วนประกอบของเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการหมักเอทานอลได้
เมื่อพิจารณาในด้านผลผลิตชานแห้งต่อไร่ ซึ่งก็พบว่าอ้อยทั้ง 3 พันธุ์ที่ทำการเก็บเกี่ยวทุกระยะมีผลผลิต
ชานแห้งที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการนำชานอ้อยเพื่อไปใช้เลี้ยงสัตว์ควรเก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 8 เดือน
เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าการเก็บเกี่ยวที่อายุมากขึ้น
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญนำไปเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งรูปพลังงาน
และอาหารสัตว์แก่นักวิจัย เกษตรกร
81