Page 147 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 147

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาการใช้ประโยชน์จากอ้อยพลังงานและผลพลอยได้เพื่อการผลิต
                                                   เอทานอลและอาหารสัตว์

                                                   The Utilization of Sugarcane and Energy Sugarcane and by

                                                   Products for the Production of Ethanol and Animal Feed
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           ดารารัตน์  มณีจันทร์         ประพันธ์  ประเสริฐศักดิ์ 1/
                                                                     1/
                                                   อุดมศักดิ์  ดวนมีสุข         ดุจลดา  พิมรัตน์ 1/
                                                                    2/
                                                   เสมอนาถ  บัวแจ่ม 2/

                       5. บทคัดย่อ

                              การศึกษาข้อมูลการใช้ประโยชน์ของอ้อยและอ้อยพลังงานเพื่อความเหมาะสมในการใช้เป็น
                       วัตถุดิบสำหรับการผลิตเอทานอลทั้งในรูปน้ำคั้น และการใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือจากการคั้นน้ำ (ชาน)

                       รวมทั้งเพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ช่วงอาหารสัตว์ขาดแคลนซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ยังไม่มีการนำไปใช้
                       ในขบวนการผลิตเอทานอล งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาองค์ประกอบผลผลิต น้ำคั้นและชานอ้อยของอ้อยพันธุ์

                       ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมจากพง 2 สายพันธุ์ คือ TPJ04-4-851 และ TPJ04-4-351 โดยทำการเก็บ

                       เกี่ยวที่อายุต่างกัน 3 ระยะ คือ 8 10 และ 12 เดือน นอกจากข้อมูลองค์ประกอบผลผลิตแล้ว ยังทำการ
                       ศึกษาข้อมูลการใช้ประโยชน์ของอ้อยพลังงานโดยแบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ 1) การนำน้ำคั้นมาวิเคราะห์

                       หาปริมาณน้ำตาลรวมและหมักเป็นเอทานอลโดยตรง 2) การนำชาน (ได้จากการคั้นน้ำ) มาวิเคราะห์

                       หาปริมาณเฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลสเพื่อนำไปผลิตเอทานอล และการวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีน
                       เพื่อการนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ระหว่างปี

                       2555 - 2558 ผลการทดลองพบว่าพันธุ์อ้อยและระยะการเก็บเกี่ยวไม่มีปฏิสัมพันธ์กันทางสถิติ ทั้งผลผลิต
                       อ้อยสด จำนวนลำต่อไร่ ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ปริมาณน้ำคั้น เปอร์เซ็นต์การหีบ ค่าความหวาน

                       (Brix) ปริมาณน้ำตาลรวม ปริมาณเอทานอล น้ำหนักชานแห้ง ปริมาณเซลลูโลส ปริมาณเฮมิเซลลูโลส

                       และปริมาณโปรตีนจากชาน ยกเว้นด้านค่าความหวาน (CCS) ที่พบว่าพันธุ์อ้อยและระยะการเก็บเกี่ยว
                       มีปฏิสัมพันธ์กันทางสถิติ ซึ่งอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 12 เดือน มีค่าความหวานสูงที่สุด

                       (17 CCS) เมื่อพิจารณาระหว่างพันธุ์ พบว่าอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำ เปอร์เซ็นต์การหีบ
                       ค่าความหวาน (Brix) ปริมาณน้ำตาลรวม และปริมาณเอทานอลสูงสุด ในทางตรงข้ามมีจำนวนลำต่อไร่








                       ____________________________________________
                       1/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
                                                           80
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152