Page 145 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 145
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบปฏิกิริยาของโคลนอ้อยต่อโรคแส้ดำ
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน มัทนา วานิชย์ วีระพล พลรักดี 1/
อนุพล เชื้อตากวัก 1/
5. บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิกิริยาของโคลนอ้อยต่อโรคแส้ดำ จำนวน 40 สายพันธุ์
โดยตรวจนับจำนวนกอที่เป็นโรคแส้ดำ ทุกๆ เดือน และเก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต แต่เนื่องจาก
ประสบปัญหาขาดน้ำ ทำให้อ้อยตายเป็นจำนวนมาก จึงต้องใช้วิธีประเมินผลการเกิดโรคเบื้องต้น โดยการ
นับจำนวนต้นอ้อยที่แสดงอาการโรคต่อจำนวนต้นอ้อยที่เหลือรอด พบว่าอ้อยสายพันธุ์ KK05-643
KK07-425 KK05-736 KK05-797 KK07-050 KK06-501 KK05-800 KK07-037 KK07-538 KK07-023
E04-031 KK07-1083 KK07-599 KK07-747 KK07-018 KK06-511 และ KK06-491 ไม่แสดงอาการ
โรคแส้ดำ และพบว่าสายพันธุ์ KK07-370 เป็นโรคมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาคือ สายพันธุ์
KK07-361 KK05-783 KK07-887 KK07-766 KK06-419 และ KK06-537 คิดเป็นร้อยละ 29.2 22.2
20.0 16.7 15.8 และ 15.4 ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ marcos ซึ่งเป็นพันธุ์ตรวจสอบมาตรฐาน พบว่า
ไม่แสดงอาการของโรค อาจเนื่องมาจากจำนวนต้นที่เหลือรอดต่ำมากเพียง 3 กอ จึงอาจไม่แสดงอาการ
ของโรคได้
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
สายพันธุ์อ้อยที่ถูกคัดเลือกจะนำไปศึกษาองค์ประกอบผลผลิตและคุณสมบัติต่างๆ เพื่อการออก
พันธุ์ใหม่ต่อไป
__________________________________________
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
1/
78