Page 143 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 143
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง การตอบสนองของพันธุ์อ้อยต่อสภาพน้ำท่วมขัง
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ทักษิณา ศันสยะวิชัย วีระพล พลรักดี 1/
1/
ภาคภูมิ ถิ่นคำ
5. บทคัดย่อ
ศึกษาการตอบสนองของพันธุ์อ้อยเมื่ออยู่ในสภาพน้ำขัง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับแนะนำต่อ
เกษตรกรดำเนินงานระหว่างปี 2555 - 2558 ประกอบด้วยอ้อย 2 ชุดพันธุ์ ชุดที่ 1 มี 10 พันธุ์ ชุดที่ 2 15
พันธุ์ ปลูกในสภาพแปลง ที่ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในแผนการทดลอง slit plot 3 ซ้ำ
ปัจจัยหลักคือ ในสภาพที่ให้น้ำขัง และไม่ให้น้ำขัง ในช่วง กันยายนถึงตุลาคม ปัจจัยรอง คือ พันธุ์อ้อย ปลูก
อ้อยด้วยต้นกล้าจากการชำข้อ ชุดที่ 1 ปลูก 28 กุมภาพันธ์ 2555 ขังน้ำ กันยายนถึงตุลาคม เก็บเกี่ยว
ปลายพฤศจิกายน พบว่าเปอร์เซ็นต์ปล้องที่มีรูอากาศไม่มีความแตกต่างกันในสองสภาพแต่มีความ
แตกต่างกันระหว่างพันธุ์ และไม่สัมพันธ์กับผลผลิต ในสภาพที่น้ำขังรูอากาศจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ผลผลิต
อ้อยไม่แตกต่างกันในสภาพน้ำขังและไม่ขัง ค่าซีซีเอสเพิ่มขึ้นในสภาพน้ำขังและทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาล
เพิ่มขึ้น พันธุ์ขอนแก่น 3 ได้ผลผลิตน้ำตาลสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพน้ำขังกับพันธุ์
ในอ้อยตอ เก็บเกี่ยวกลางมกราคม พันธ์อู่ทอง 10 ได้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุดไม่แตกต่างจากขอนแก่น 3
อ้อยที่ถูกน้ำขังมีการแตกรากฝอยมากขึ้นโดยมีความยาวรากสูงสุดที่ข้อบนสุดที่อยู่ที่ระดับติดผิวน้ำและมี
การแตกรากสาขาออกไปมากมายและมีสีขาวถึงสีชมพู ในขณะที่ข้อที่อยู่เหนือผิวน้ำมีการแตกรากอากาศ
เป็นเส้นเดี่ยวและมีสีม่วงและพบรากแบบนี้ในอ้อยที่ไม่ถูกน้ำขัง ชุดที่ 2 ปลูก 1 เมษายน 2557 ขังน้ำ
ช่วงเวลาเดียวกัน เก็บเกี่ยวปลายพฤศจิกายน น้ำขังทำให้อ้อยการเพิ่มความสูงมากกว่า มีความแตกต่าง
ระหว่างพันธุ์ น้ำขังประมาณ 1 เดือน ทำให้อ้อยแตกรากอากาศมีน้ำหนักมากขึ้นเกือบ 4 เท่า และมีความ
แตกต่างระหว่างพันธุ์ เช่นกันเดียวกับจำนวนข้อที่มีรากอากาศ และเปอร์เซ็นต์ปล้องที่มีรูอากาศ
อย่างไรก็ตามลักษณะเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์กับผลผลิต พันธุ์ขอนแก่น 3 ยังคงให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่น
อ้อยตอให้ผลเช่นเดียวกับอ้อยปลูก สรุปได้ว่า อ้อยที่ถูกน้ำท่วมขังในระดับประมาณ 50 เซนติเมตร
เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ในช่วงกันยายนถึงตุลาคม ที่อ้อยโตแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต และดูเหมือนว่า
จะมีความหวานมากขึ้น และมีการเพิ่มความสูงเพิ่มขึ้น และพันธุ์อ้อยที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้มีการ
ตอบสนองต่อน้ำท่วมขังไม่แตกต่างกัน อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่เกษตรกรนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังคงให้
ผลผลิตดีกว่าพันธุ์อื่นๆ และไม่มีผลต่อผลผลิตเมื่อถูกน้ำท่วมขัง
___________________________________________
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
1/
76