Page 146 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 146
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบมาตรฐาน: โคลนอ้อยชุด 2547 เพื่อชีวมวลสูง
Standard Trial: Sugarcane Series 2004 for High Biomass.
4. คณะผู้ดำเนินงาน วีระพล พลรักดี เบญจมาส คำสืบ 2/
1/
สุรีรัตน์ แสงนิล สุชาติ คำอ่อน 4/
3/
อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์
5/
5. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุด 2547 เพื่อชีวมวลสูง วางแผนการทดลองแบบ RCB
3 ซ้ำ 15 พันธุ์/โคลน ใช้ขอนแก่น 3 และ เค88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการการทดลองจำนวน
3 แปลง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด และศูนย์วิจัยและพัฒนา
การเกษตรนครราชสีมา ขนาดของแปลงย่อย 4 แถวๆ ยาว 8 เมตร เก็บเกี่ยว 2 แถวกลาง ระยะระหว่างร่อง
1.3 เมตร ระยะระหว่างหลุม 0.5 เมตร ปลูกอ้อยหลุมละ 2 ท่อนๆ ละ 3 ตา ได้คัดเลือกอ้อยโคลนดีเด่นไว้
4 โคลน คือ TPJ03-452 TPJ04-154 TPJ04-351 และ TPJ04-508 ทั้ง 4 โคลนให้น้ำหนักแห้งเฉลี่ย
จากทุกแปลงในอ้อยปลูก ตอ 1 และตอ 2 เท่ากับ 6.32 6.09 6.79 และ 5.91 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่า
ขอนแก่น 3 ซึ่งเท่ากับ 5.16 ตันต่อไร่ มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 16,395 15,828 19,310 และ 16,532
ลำต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าขอนแก่น 3 ซึ่งเท่ากับ 10,314 ลำต่อไร่ แต่มีขนาดลำและน้ำหนักต่อลำต่ำกว่า
ขอนแก่น 3 โดยมีขนาดลำเฉลี่ย 2.21 2.27 2.08 และ 2.00 เซนติเมตร ตามลำดับ เล็กกว่าขอนแก่น 3
ซึ่งเท่ากับ 2.80 เซนติเมตร มีน้ำหนักต่อลำเฉลี่ย 0.84 0.94 0.85 และ 0.79 กิโลกรัม ตามลำดับ ต่ำกว่า
ขอนแก่น 3 ซึ่งเท่ากับ 1.39 กิโลกรัม มีความยาวลำตอนเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 279 265 268 และ 302
เซนติเมตร ตามลำดับ สูงกว่าขอนแก่น 3 ซึ่งเท่ากับ 243 เซนติเมตร และให้ค่าความหวานเฉลี่ย 10.94
10.91 8.99 และ 8.63 ซีซีเอส ตามลำดับ ต่ำกว่าขอนแก่น 3 ซึ่งเท่ากับ 15.54 ซีซีเอส โคลนอ้อยที่
คัดเลือกได้จะนำไปประเมินผลผลิตขั้นการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรต่อไป
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
อ้อยทั้ง 4 โคลนที่คัดเลือกไว้ จะนำไปประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร เพื่อ
เก็บข้อมูลการให้ผลผลิตในสภาพไร่ของเกษตรกร และคัดเลือกโคลนที่ดีที่สุดแนะนำให้เกษตรกรนำไปปลูก
___________________________________________
1/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา
3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด
4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ
5/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
79