Page 150 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 150
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการติดเชื้อสาเหตุโรคใบขาวของพันธุ์อ้อยปลอดโรคในสภาพ
แปลงผลิตท่อนพันธุ์
Study on Re-infection of White Leaf Disease Free Seed Cane
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน นิลุบล ทวีกุล ทักษิณา ศันสยะวิชัย 1/
กาญจนา กิระศักดิ์ เพียงเพ็ญ ศรวัต 1/
1/
สรรเสริญ เสียงใส ศฬิษา สังข์วิเศษ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
โรคใบขาวเป็นปัญหาสำคัญในการผลิตอ้อยของไทย มีสาเหตุจากเชื้อไฟโตพลาสมา การแพร่
ระบาดผ่านทางแมลงพาหะคือเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล และทางท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อ โดยสามารถแพร่กระจาย
ได้กว้างขวางและรวดเร็วผ่านทางท่อนพันธุ์ การใช้พันธุ์อ้อยปลอดโรค จึงเป็นวิธีการสำคัญในการลด
โรคใบขาว แต่อ้อยอาจติดเชื้อโรคใหม่จากแมลงพาหะ จึงทำการศึกษาเพื่อประเมินการเกิดโรคใบขาวใน
พันธุ์อ้อยปลอดโรค ที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยอดอ่อนและผ่านการตรวจเชื้อสาเหตุโรคโดยวิธีทาง
ชีวโมเลกุล (nested PCR) เมื่อนำไปปลูกในสภาพแปลงปลูกส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงปี 2549 – 2558 พบว่าพันธุ์อ้อยปลอดโรคมีศักยภาพในการใช้ลดโรคใบขาว การปลูกพันธุ์อ้อย
ปลอดโรคใบขาว ห่างจากแปลงอ้อยอื่น 1 กิโลเมตรขึ้นไป หรือในแหล่งที่มีโรคระบาดไม่รุนแรง
(<5 เปอร์เซ็นต์) สามารถปลูกขยายพันธุ์ได้ไม่ต่ำกว่า 3 รุ่นและไว้ตอได้ 4 ตอ ขึ้นกับสภาพที่ก่อให้เกิด
ความเครียดกับอ้อยและการระบาดของอ้อยจากแปลงในบริเวณเดียวกัน ในแหล่งโรคใบขาวระบาด
รุนแรงไม่สามารถผลิตเป็นท่อนพันธุ์ปลูกต่อได้ ถึงแม้ไม่เกิดโรคในอ้อยปลูกแต่จะเกิดโรครุนแรงในอ้อยตอ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. มีการนำไปขยายผล โดยจัดทำแปลงทดสอบและต้นแบบ ในโครงการต่างๆ ของหน่วยงาน
ราชการทั้งในกรมวิชาการเกษตร โรงงานน้ำตาล สมาคมชาวไร่อ้อย และความร่วมมือกับต่างประเทศ
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการฝึกอบรมและจัดนิทรรศการมากกว่า 10 ครั้ง
___________________________________________
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น
1/
83