Page 151 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 151

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยา และคุณสมบัติทางเคมีของ
                                                   เชื้อพันธุกรรมอ้อย

                                                   Identification  of  Morphological  Traits  and  Chemistry  of

                                                   Sugarcane (Saccharum spp.) Germplasm
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           อัมราวรรณ  ทิพยวัฒน์         วีระพล  พลรักดี 2/
                                                                      1/
                                                   ทักษิณา  ศันสยะวิชัย         กาญจนา  กิระศักดิ์ 1/
                                                                     1/
                       5. บทคัดย่อ

                              งานปรับปรุงพันธุ์อ้อยจำเป็นต้องมีฐานพันธุกรรมที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาและเลือกใช้เป็น

                       พ่อแม่ ในการผสมให้ได้พันธุ์ใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การรวบรวม และศึกษาลักษณะทางการ
                       เกษตรที่สำคัญ และลักษณะทางสัณฐานวิทยา เพื่อจำแนกลักษณะประจำพันธุ์ เป็นเรื่องสำคัญและควร

                       บันทึกในรูปแบบที่สะดวกต่อการสืบค้นข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุ์ ดำเนินการทดลองใน
                       ปี 2554 - 2558 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น แปลงทดลองท่าพระ โดยรวบรวมและปลูกรักษาเชื้อ

                       พันธุกรรมอ้อยจากต่างประเทศ จำนวน 489 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ Augmented Randomized

                       Complete Block Design ใช้อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ขอนแก่น 80 และ เค88-92 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ แต่
                       ผลการทดลองสามารถประเมินคุณค่าศักยภาพในการผลิตได้เพียง 443 พันธุ์ เนื่องจากบางพันธุ์มีปริมาณน้อย

                       ไม่สามารถบันทึกลักษณะบางประการได้ โดยเก็บข้อมูลของอ้อยปลูกจนถึงอ้อยตอ 2 การทดลองพบว่า

                       ผลผลิตของอ้อยปลูกอยู่ระหว่าง 0.2-23.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (เฉลี่ย 7.2+3.7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
                       โดยมีอ้อย 16 พันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง มากกว่า 15.6 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่วนผลผลิตในอ้อยตอ 1

                       และอ้อยตอ 2 อยู่ระหว่าง 0.1-21.8 และ 0.1-10.6 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ผลผลิตน้ำตาลของอ้อยปลูก
                       อยู่ระหว่าง 0.03-3.02 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (เฉลี่ย 0.83+0.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) มี 16 พันธุ์

                       ที่ให้ผลผลิตน้ำตาลต่อไร่สูง (มากกว่า 1.91 กิโลกรัม/ต่อตารางเมตร) ผลผลิตน้ำตาลของอ้อยตอ 1 และ

                       อ้อยตอ 2 อยู่ระหว่าง 0.02-2.81 และ 0.01-1.0 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวนลำเก็บเกี่ยวของอ้อยปลูก
                       อยู่ระหว่าง 1.1-30.9 ลำต่อตารางเมตร (เฉลี่ย 7.7+3.6 ลำต่อตารางเมตร) มี 10 พันธุ์ที่ให้จำนวนลำสูงสุด

                       อยู่ระหว่าง 16.4-30.9 ลำต่อตารางเมตร จำนวนลำเก็บเกี่ยวของอ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2 อยู่ระหว่าง
                       1.0-28.4 และ 0.6-20.5 ลำต่อตารางเมตร ค่าซีซีเอสของอ้อยปลูกอยู่ระหว่าง 9.0-16.6 เปอร์เซ็นต์

                       (เฉลี่ย 12.0+1.8 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมี 20 พันธุ์ที่มีค่าซีซีเอสสูงสุด อยู่ระหว่าง 15.4-16.6 เปอร์เซ็นต์ ค่าซีซีเอส

                       ของอ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2 อยู่ระหว่าง 8.5-15.2 เปอร์เซ็นต์ และ 4.2-20.5 เปอร์เซ็นต์ เส้นผ่าน




                       __________________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
                       2/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
                                                           84
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156