Page 1790 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1790
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู
ธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง การจำแนกชนิดของราสกุล Phyllosticta สาเหตุโรคพืช โดยใช้ลักษณะ
ทางสัณฐานวิทยาและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม
Identification of Phyllosticta Plant Pathogenic Fungi Using
Morphological and Molecular Characteristics
4.คณะผู้ดำเนินงาน พรพิมล อธิปัญญาคม สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ 1/
1/
ชนินทร ดวงสอาด 1/
5. บทคัดย่อ
ผลการรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Phyllosticta ได้ตัวอย่างโรคพืช
ทั้งหมด 32 ตัวอย่าง จากพืชอาศัยจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ส้มโอ มะม่วง ขนุน วาสนา ทับทิม กล้วยไม้ ฝรั่ง
ในจังหวัดกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ เชียงราย นครปฐม และสมุทรปราการ นำมาศึกษาในห้อง
ปฏิบัติการโดยการศึกษาราจากเนื้อเยื่อพืชโดยตรง การทำ moist chamber แยกราจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็น
โรคได้ทั้งหมด 32 ไอโซเลต ศึกษาจำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและความสัมพันธ์
ทางพันธุกรรมจากการศึกษาจำแนกได้รา Phyllosticta จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ P. citriasiana
P. mangifera-indica P. captilalensis Guignardia psidii และ unidentified species อีก 3 ชนิด
จัดเก็บตัวอย่างแห้งโรคพืชไว้ในพิพิธภัณฑ์โรคพืช ที่กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ สำนักวิจัยพัฒนา
การอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จากการศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของรา Phyllosticta และพิจารณา
phylogenetic tree ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล DNA ของตำแหน่ง ITS ของรา Phyllosticta ด้วย
maximum likelihood พบว่า ราสาเหตุโรค tan spot ของส้มโอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
(ไอโซเลต 010) และอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (ไอโซเลต 019) จำแนกชนิดเป็นรา Phyllosticta
citriasiana (Crous & Gruyter)
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
พัฒนาต่อ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1723