Page 1792 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1792
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู
ธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง สัณฐานวิทยาของเมล็ดวัชพืชสกุลลูกใต้ใบ Phyllanthus L.
Seed Morphology of Phyllanthus L. Weed
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ธัญชนก จงรักไทย ศิริพร ซึงสนธิพร 1/
อัณศยา สุริยะวงศ์ตระการ มณธิชา นุ่มดี 1/
1/
5. บทคัดย่อ
ศึกษาสัณฐานวิทยาของเมล็ดวัชพืชสกุลลูกใต้ใบ โดยการสำรวจและรวบรวมตัวอย่างพืชสด
และเมล็ด ร่วมกับการปลูกเพื่อรวบรวมเมล็ดและศึกษาลักษณะเพื่อตรวจสอบชนิด พบ 8 ชนิด ได้แก่
ลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus Schumach ex Thonn) ลูกใต้ใบใบใหญ่ (Phyllanthus caroliniensis
Walter, Fl. Carol.) ลูกใต้ใบผลหยัก (Phyllanthus urinaria L.) ขางอำไพ (Phyllanthus virgatus
G.Forst.) ลูกใต้ใบขน (Phyllanthus chayamaritiae Chantar. & Kantachot in Kantachot &
Chantar.) ลูกใต้ใบ (Phyllanthus debilis Klein ex Willd.(Phyllanthus niruri L. var. debilis
(Klein ex Willd.) Müll.Arg.)) ลูกบนใบ (Phyllanthus tenellus L.) ว่านธรณีสาร (Phyllanthus
pulcher Wall. ex Mull.Arg.) วัชพืชแต่ละชนิดมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เมล็ดพืช
ในสกุลลูกใต้ใบคล้ายกัน แต่ขนาดและลักษณะลายบนเมล็ดแตกต่างกัน
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
- จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดวัชพืชสกุลลูกใต้ใบ ทำให้ได้ตัวอย่างวัชพืช
และเมล็ด ที่สามารถตรวจสอบยืนยันได้ ซึ่งขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่กลุ่มวิจัยวัชพืช กรมวิชาการเกษตร
โดยจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลากรของกรมวิชาการเกษตร หน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการยืนยันหรือตอบโต้ทางการค้า การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
ตลอดจนการจัดการวัชพืชที่ถูกชนิด
- ได้คู่มือการตรวจสอบเมล็ดวัชพืช ดังตารางแสดงการเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ของเมล็ดวัชพืชสกุลลูกใต้ใบ โดยเป็นประโยชน์ต่อบุคคลากรของกรมวิชาการเกษตร หน่วยงานการศึกษา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสามารถระบุชนิดของวัชพืชได้เบื้องต้น
และหากต้องการความชัดเจนในชนิดวัชพืชนั้นๆ สามารถนำตัวอย่างที่เก็บได้มาเปรียบเทียบได้ที่กลุ่มวิจัย
วัชพืชต่อไป
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1725