Page 1794 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1794
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู
ธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง ชีววิทยา และการแพร่กระจายของผักเบี้ยเล็ก (Portulaca
quadrifida L.)
Biology and Distribution of Chickenweed purslane (Portulaca
quadrifida L.)
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน จรัญญา ปิ่นสุภา ศิริพร ซึงสนธิพร 1/
คมสัน นครศรี 1/
5. บทคัดย่อ
สำรวจการแพร่กระจายของผักเบี้ยเล็ก (Portulaca quadrifida L.) ในพื้นที่ปลูกผัก และพืชไร่
ในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และศึกษาข้อมูลชีววิทยา
ณ เรือนทดลองกลุ่มวิจัยวัชพืช ในปี 2557 - 2558 จากการสำรวจการแพร่กระจายของผักเบี้ยเล็ก
พบในพื้นที่ปลูกผักในเขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางพบทั้งในพื้นที่ปลูกผัก
และพืชไร่ ข้อมูลทางชีววิทยา เมล็ดสามารถงอกได้ในสภาพที่ได้รับแสง ตลอด 24 ชั่วโมง สภาพที่
ได้รับแสงสลับกลางวันและกลางคืน และสภาพห้องปฏิบัติการ อัตราการงอกไม่แตกต่างกันทางสถิติ
อยู่ระหว่าง 6.8 - 8.2 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราการงอกจากลำต้น สามารถงอกได้ดีสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์
เมื่อวางบนผิวดินในสภาพเรือนทดลอง เมื่อฝังเมล็ดลงในดินที่ระดับความลึกของดิน 3, 6, 10, 15 และ
30 เซนติเมตร เป็นระยะเวลานาน 1 ปี พบว่า เมล็ดยังมีชีวิตสามารถงอกได้ในทุกระดับความลึกของดิน
โดยเฉพาะเมล็ดผักเบี้ยเล็กที่ฝังระดับความลึก 6 และ 10 เซนติเมตร มีการงอกสูงกว่าที่ระดับความลึกอื่นๆ
ส่วนการเจริญเติบโตของผักเบี้ยเล็กนั้น เมล็ดงอกหลังจากหว่านลงดินที่ 4 - 7 วัน และมีใบจริงที่ระยะ
1 สัปดาห์หลังงอก หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ ลำต้นผักเบี้ยเล็กทอดนอนเลื้อยไปกับผิวดิน และมีการ
เพิ่มความยาวต้นและจำนวนกิ่งไปเรื่อยๆ ออกดอกที่ระยะ 5 สัปดาห์หลังงอก และเริ่มมีการเจริญเติบโต
เป็นผลแก่เมื่ออายุ 7 สัปดาห์หลังเมล็ดงอก เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่ให้จำนวนผลได้สูงเฉลี่ย 621.25 ผล
โดยแต่ละผลมีจำนวนเมล็ด 2 - 16 เมล็ด
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1727