Page 5 - 015 Rattika
P. 5
นิยามศัพท์เฉพาะในชุดการสอนภูมิศาสตร์
1. ชุดการเรียนรู้ หมายถึง สื่อการเรียนการสอนหลายๆอย่างประสมกัน หรือเรียกว่าสื่อประสม
สามารถท าให้สะดวกต่อการใช้ในการเรียนการสอนผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งจะท าให้ผู้เรียน
บรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ชุดการเรียนรู้ทุกชุดจะประกอบด้วย
1.1 คู่มือและแบบปฏิบัติ ส าหรับครูผู้ใช้ชุดการเรียนรู้และนักเรียนที่ ต้องเรียนจากชุดการเรียนรู้
แบ่งเป็นเอกสารส าหรับครูซึ่งเป็นข้อแนะน ารายละเอียดส าหรับครูผู้ใช้ ชุดการเรียนรู้ในแต่ละชุดควรเตรียม
ตัวอย่างไร การศึกษาเนื้อหา การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนและรวมถึงแผนการสอนซึ่งเป็นเอกสารส าหรับครู
ในการด าเนินกิจกรรมการเรียนการสอน มีรายละเอียดเกี่ยวกับความคิดรวบยอด จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
1.2 เอกสารส าหรับนักเรียน เป็นข้อแนะน ารายละเอียดส าหรับนักเรียนในชุดการเรียนรู้
ประกอบด้วย เนื้อหา ระยะเวลาเรียน จุดมุ่งหมายของการเรียน ใบปฏิบัติกิจกรรม และแบบบันทึกกิจกรรม
2.ทฤษฎีการศึกษากับชุดการเรียนรู้เพื่อให้สื่อการเรียนรู้ ชุดการเรียนการเรียนรู้เรื่อง ภูมิศาสตร์
ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ สามารถส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการ
ออกแบบสื่อการเรียนรู้นี้โดยใช้ 3 ทฤษฎีการรองรับ คือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
หรือทฤษฎีการเสริมแรง และทฤษฎีการรับรู้ เข้ามารองรับการจัดท าสื่อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ของทอนไดค์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า “สิ่งเร้า
หนึ่งๆย่อมเกิดการตอบสนองหลายๆอย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด” โดยชุดการเรียนการสอน เรื่อง
ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ สาระวิชาภูมิศาสตร์ ได้น าเอากฎแห่งการฝึกฝน (Law of
Exercise) มาใช้ในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ในการท าใบงานและข้อสอบ โดยใน
แต่ละบทการเรียนรู้จะมีข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อเป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และ
ช านาญในการเรียน
2.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขหรือทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) โดย
การเสริมแรงทางบวกของสกินเนอร์ (skinner) ซึ่ง ชุดการเรียนการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
และอเมริกาใต้ สาระวิชาภูมิศาสตร์จะมีการเสริมแรงทางบวกโดยการได้รับค าชมและคะแนนจากครูผู้สอน
ในการท ากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้